Thursday, March 18, 2010

ประวัติการพิมพ์ผ้า

ประวัติการพิมพ์ผ้า


งานพิมพ์ direct print 1.งานพิมพ์ direct print เป็นงานพิมพ์ที่เป็นการพิมพ์ลงไปบนผ้าโดยตรงโดยใช้วัตถุดิบและสารเคมีที่ เหมาะสมกับกระบวนการผลิตนั้นๆ ซึ่งมีกระบวนการผลิตดังนี้

1.1 การพิมพ์ผ้าเป็นหลา ซึ่งมีกระบวนการพิมพ์หลายวิธีดังนี้

1.1.1 การพิมพ์โดยพิมพ์เป็นสีโดยใช้แป้งพิมพ์ลงไปโดยตรงบนผ้าซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดเส้นใยนั้นๆคือ

- ผ้าโพลีเอสเตอร์ จะใช้สีพิมพ์ disperse ผสมกับแป้งพิมพ์ที่ทำมาจาก gum ซึ่งขึ้นอยู่กับ ชนิดโครงสร้างผ้าและลักษณะเส้นใยที่นำมาใช้ในการผลิตผ้า และลักษณะของลายพิมพ์ซึ่งขึ้นอยู่กับเทคนิค

การพิมพ์ของช่างเทคนิคในแต่ละโรงงานนั้นๆ

- ผ้าฝ้ายและผ้าเรยอนหรือผ้าสปัน ซึ่งจะใช้สีพิมพ์ reactive ผสมกับแป้งพิมพ์ทำมาจาก เคมีจำ

พวกแอลจิเนต หรืก พวก gum

- ผ้าไนล่อน และ ผ้าไหม จะใช้สีพิมพ์ acid เป็นต้น

1.1.2 การพิมพ์แบบ discharge เป็นการพิมพ์แป้งพิมพ์ที่ผสมสารเคมีประเภทสารฟอกสีลงไปบนผ้า

ย้อมสีเพื่อให้เกิดเป็นลายพิมพืหลังจากที่ผ้าที่พิมพ์ได้ผ่านกระบวนการอบและซักแล้วจึงจะเห็นลักษณะลายพิมพ์

ที่ สวยงาม ซึ่งงานพิมพ์ประเภทนี้จะไม่เห็นลอยต่อของลายพิม์เวลาที่พิมพ์แล้วบล็อก เคลื่อน เราสามารถดูงานพิมพ์ประเภทนี้ได้ว่าเป็นงานแบบนี้หรือไม่หลังจากทำเป็นเสื้อ ผ้าแล้วโดยดูจากด้านในตัวเสื้อจะเห็นลายพิมพ์

ทะลุออกมาทางด้านหลังผ้าเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ในการพิมพ์กัดสีผ้าจนทะลุออกมาด้านลังลายพิมพ์

1.1.3 การพิมพ์แบบ resist เป็นการพิมพ์แบบกันสี ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดที่มีลักษณะการทำงานพิมพ์ที่คล้ายกันก็คือ งานบาติก ที่มีลักษณะงานพิมพ์ที่คล้ายกับการพิมพ์ resist การพิมพ์แบบนี้จะเป็นการพิมพ์โดยพิมพ์แป้งพิมพ์ที่มีสารกันสี แล้วนำผ้าที่พิมพ์เสร็จแล้วไปย้อมสีโดยการย้อมแบบ padding แล้วนำผ้าที่ได้ไปผ่านกระบวนการซัก ก็จะเห็นเป็นลักษณะงานพิมพ์ที่สวยงาม

1.1.4 การพิมพ์แบบ burn out เป็นการพิมพ์แบบใช้สารเคมีเข้าไปทำลายเส้นใยผ้าเพื่อให้เกิดเป็นลวดลายที่ สวยงาม ซึ่งการพิมพ์แบบนี้จะใช้กับการพิมพ์ผ้าที่มีส่วนผสมของเส้นใย polyester กับ cotton

โดยในการพิมพ์แป้งพิมพ์ที่ผสมสารเคมีที่ทำลายเส้นใย cotton จะไปทำลายเส้นใยหลังจากนำผ้าที่พิมพ์ไปผ่าน

กระบวนการอบและซัก ก็จะเห็นช่องว่างของเส้นใยที่ถูกทำลายไปเหลือแต่เส้นใย polyester

1.1.5 การพิมพ์แบบ digital print เป็นการพิมพ์งานที่ใช้เครื่องพิมพ์ที่มีลักษณะคล้ายกับ printer

ของคอมพิวเตอร์แต่มีขนาดใหญ่กว่า โดยในกระบวนการผลิตจะต้องนำผ้ามาทำ treatment ก่อนนำผ้าไปเข้า

เครื่องพิมพ์ซึ่งกระบวนการก็จะคล้ายกับการพิมพ์ผ้าหลาในแบบข้างต้น แต่จะต่างกันตรงที่ผ้าที่จะต้องพิมพ์

จะ ต้องไปลามิเนตแป้งพิมพ์บนผ้าก่อนแล้วทำให้แห้ง แล้วจึงนำผ้าที่ได้ไปเข้าเครื่องพิมพ์เพื่อพ่นสีใส่ผ้าให้เกิดเป็นลวดลาย ต่างๆ แล้วก็ต้องนำผ้าชนิดนั้นๆไปผ่านการอบไอน้ำและการซักเพื่อขจัดคราบเคมีบนผ้า ออกจึงจะ

สานารถนำไปให้ลูกค้าได้ซึ่งในการพิมพ์นั้นก็จะขึ้นอยู่กับผ้า ที่ใช้กับสีที่ใช้ในการพิมพ์นั้นๆซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสีพิมพ์ของแต่ ละบริษัท



2.การพิมพ์ indirect หรือการพิมพ์ transfer 2.การพิมพ์ indirect หรือการพิมพ์ transfer ในกระบวนการพิมพ์ผ้าหลา เป็นการพิมพ์สีพิมพ์ใส่วัสดุประเภทกระดาษแล้วนำกระดาษที่พิมพ์แล้วมารีดใส่ ผ้าโดยใช้ลูกกลิ้งความร้อน โดยในการผลิตจะใช้เครื่องพิมพ์

ที่เรียกว่า กราเวีย ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์งาน พลาสติก แต่ในการพิมพ์ผ้าจะใช้กระดาษแทนพลาสติก โดยสีพิมพ์ที่ใช้จะเป็นสี disperse ที่มีค่า migration สูงๆ โดยในการพิมพ์ประเภทนี้จะใช้ในการพิมพ์พวกเสื้อผ้ากีฬา ซึ่งมีลวดลายที่หลากหลายขึ้นอยู่กับแบบของทีมกีฬานั้นๆ ส่วนใหญ่จะพิมพ์ในผ้าที่เป็นเส้นใย polyester 100 % ที่เป็นผ้า knit ธรรมดา หรือ ผ้า knit ที่ผสมเส้นใย spandex เพื่อความนุ่มสบายในการสวมใส่

การพิมพ์แบบเป็นชิ้น ( แบบ direct print )

ในปัจจุบันจะมีโรงงานที่เป็นอุตสาหกรรมทำเสื้อผ้าสำเร็จรูปซึ่งจะมีทำงานพิมพ์แบบเป็นชิ้นซึ่งปัจจุบันมีการ

ทำ งานในโรงงานที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนไม่สูงมากเหมือน อุตสาหกรรมพิมพ์ผ้าหลาซึ่งในกระบวนการพิมพ์ผ้าชิ้นจะมีรูปแบบการพิมพ์อยู่ ดังนี้

1.การพิมพ์สียาง ( rubber print ) การพิมพ์สียางเป็นการพิมพ์แป้งพิมพ์ชนิด waterbase ลงไปบนผ้า

ซึ่งสียางสามารถพิมพ์ลงไปบนผ้าได้เกือบทุกเส้นใยขึ้นอยู่กับชนิดของสียางที่ผลิตมาจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งสียาง

สามารถพิมพ์ลงไปบนผ้าได้เกือบทุกชนิด ยกตัวอย่างเช่นผ้าที่ทำจากเส้นใย polyester บางเนื้อผ้าที่มีการทำ

ปรับสภาพเนื้อผ้าเพื่อให้เหมาะกับการสวมใส่จึงทำให้เวลาพิมพ์ ตัวแป้งพิมพ์ไม่สามารถยึดเกาะกับเส้นใยได้ไม่ดี

ต้องใช้สารเคมี crosslinking agent ที่มีการยึดเกาะที่มีความเข้มข้นสูงมาใช้ในการพิมพ์ซึ่งเวลาใช้ให้เทสต์

งาน ก่อนทำการผลิตจริงเพราะ เคมีที่มีการยึดเกาะที่ดีก็จะมีการข้อเสียคือทำให้สีที่พิมพ์ลงไปมีความแข็ง และจะมีปัญหาทำให้ดึงแล้วแตกหลังจากพิมพ์เสร็จแล้ว และจะมีปัญหาในกรณีที่ทิ้งไว้นานๆแล้วสีจะกรอบ

2.การพิมพ์สีพลาสติซอล ( plastisol print ) การพิมพ์สีพลาสติซอลเป็นสีพิมพ์ที่มีส่วนผสมของ pvc และสารเคมีพวก plastiziser ซึ่งเป็นสาเหตุของสารก่อเกิดมะเร็ง ซึ่งในเสื้อผ้าที่เป็นยี่ห้อแบรนด์เนมที่ขาย

ให้กับประเทศแถบยุโรปและประเทศอเมริกา จะห้ามพิมพ์สีพิมพ์ที่มีส่วนผสมของ pvc และ plastiziser

ซึ่งในปัจจุบันในสินค้าแบรนด์ส่วนใหญ่จะให้พิมพ์สียาง

3.การพิมพ์กำมะหยี่ ( direct flock print ) การพิมพ์กำมะหยี่ลงไปบนผ้าโดยตรงจะใช้วิธีการพิมพ์กาวลงไปบนผ้าแล้วใช้ เครื่องพ่นขนกำมะหยี่ลงไปบนผ้าหลังจากพิมพ์กาวเสร็จแล้ว โดยจะทำการพ่นขนกำมะหยี่ลงไปบนผ้าทีละสี ในการพิมพ์กำมะหยี่โดยตรงจะมีวิธีการพิมพ์อยู่ 2 แบบ โดยพิมพ์ลงไปบนโต๊ะพิมพ์โดยพิมพ์

ลงไปทีละสีแต่จะมีปัญหาเรื่องของการฟุ้งกระจายของขนกำมะหยี่ในโรงงาน แต่ในปัจจุบันจะมีเครื่องพิมพ์แบบ

วงกลมซึ่งจะมีกล่องพ่นขนกำมะหยี่โดยจะพ่นลงเฉพาะลาย โดยในเครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีหลายแป้นพิมพ์

โดยจะมีแป้นที่พิมพ์กาวและแป้นที่พ่นกำมะหยี่โดยในการพิมพ์แบบนี้จะไม่มีเรื่องการฟุ้งกระจายของขนกำมะหยี่

เพราะการพ่นแบบนี้จะพ่นโดยใช้กล่องพ่นลงไปบนลายพิมพ์ที่มีการพิมพ์กาวอยู่จะไม่มีการฟุ้งกระจายเพระถูกควบคุมโดยกล่องพ่น

4.การพิมพ์ discharge เป็น การพิมพ์แบบกัดสีซึ่งผ้าที่ใช้ในการพิมพ์ส่วนใหญ่จะเป็นผ้า cotton ที่มีการย้อมสีกลุ่ม ไวนิลซัลโฟน ซึ่งสีพิมพ์ที่ใช้จะเป็นกลุ่มที่มีการใช้สารฟอกสี ซึ่งสีที่ใช้ในการพิมพ์จะเป็นแป้งพิมพ์ประเภทปิกเมนต์ผสมกับสารเคมีที่เป็น สารฟอกสี ในเวลาพิมพ์งานพิมพ์ประเภทนี้ไม่สามารถผสมสาร

ฟอกสีทิ้งไว้ ได้เพราะจะเกิดปฏิกิริยาทำให้สีพิมพ์ไม่สามารถทำปฏิกิริยาได้เต็ม ประสิทธิภาพจะทำให้การกัดสีพิมพ์ไม่สามารถทำให้ได้ชิ้นงานที่มีการกัดสี พิมพ์ที่สม่ำเสมอ ในการพิมพ์งานประเภทนี้การที่จะทำให้งานมี

ประสิทธิภาพ ได้จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของมือพิมพ์ในการพิมพ์งานและส่วนผสมทางเคมีที่ใช้ใน การพิมพ์ต้องผสมได้ตามเปอร์เซ็นต์ที่ทางบริษัทผู้ผลิตเป็นผู้กำหนด ในการพิมพ์ประเภทนี้ถ้าจะให้การกัดสีมีประสิทธิภาพต้อง

พิมพ์งานแล้วทำการอบสีเลยถึงจะมีประสิทธิภาพของงานพิมพื

5.การพิมพ์ resist เป็นการพิมพ์แบบกันสีซึ่งส่วนใหญ่ในการพิมพ์ผ้าชิ้นยังไม่มีคนทำ แต่ส่วนใหญ่จะทำในการทำงานแบบบาติก ซึ่งจะใช้การมัดผ้าหรือการเขียนเทียนไขลงไปบนผ้าแล้วทำการย้อม ซึ่งยังมีการทำทีไม่แพร่หลายมากนักเพราะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับงานฝีมือและ แรงงาน

6.การพิมพ์ฟอยล์ เป็นการพิมพ์กาวลงไปบนผ้าตามลวดลายที่กำหนดแล้วนำผ้าที่พิมพ์กาวแล้วไปรีดฟอยล์

โดยใช้เครื่องรีดโดยรีดที่อุณหภูมิ ประมาณ 140 – 160 องศาเซลเซียส

7.การพิมพ์ HIDEN เป็นการพิมพ์งานแบบให้ลายพิมพ์มีความหนากว่าการพิมพ์งานแบบทั่วไป โดยในการพิมพ์งานแบบ HIDEN จะมีเทคนิคการพิมพ์ อยู่ 2 แบบคือ

- การพิมพ์แบบใช้เคมีพิมพ์ที่เป็นกลุ่ม WATERBASE โดยในการพิมพ์งานแบบนี้จะใช้เทคนิคการถ่ายบล็อกให้มีความหนาและก็ใช้เคมีใน การพิมพ์ที่มีความหนาแน่นในโครงสร้างสูงซึ่งเวลาพิมพ์อาจจะต้องใช้การพิมพ์ หลายรอบ ขึ้นอยู่กับความหนาของบล็อกพิมพ์และความเหนียวของแป้งพิมพ์ซึ่งต้องมีความ หนืดมากกว่า

การพิมพ์งานโดยทั่วไป และในการพิมพ์สีพิมพ์จำพวกนี้จะมีปัญหาเรื่องของการพิมพ์บล็อกจะตันอยู่เป็นประจำ

ซึ่งต้องแก้ไขโดยใช้สารเติมแต่งที่เป็นพวก WETTING AGENT ลงไปในแป้งพิมพ์เพื่อช่วยไม่ให้บล็อก

ตันง่ายจนเกินไป และในการพิมพ์งานประเภทนี้ในโรงงานไม่ควรมีอากาศที่อบอ้าวมากเพราะจะทำให้สีแห้งไว

ถึงแม้จะมีการเติมสารเติมแต่งลงไปก็ตาม

- การพิมพ์โดยใช้สีพิมพ์พวกกลุ่ม PLASTISOL จะมีการพิมพ์ที่คล้ายกับการพิมพ์ในกลุ่ม WATERBASE แต่จะดีกว่าตรงที่พิมพ์แล้วบล็อกไม่ตัน และในการพิมพ์งานไม่ต้องพิมพ์รอบมากเท่ากับ

การพิมพ์ WATERBASE ซึ่งถ้าพิมพ์ในเครื่องพิมพ์อัตโนมัติน่าจะได้งานมากกว่าการพิมพ์โดยใช้คนพิมพ์

การพิมพ์งานแบบ INDIRECT หรือ การพิมพ์แบบ TRANSFER

ในการพิมพ์งานแบบ TRANSFER จะมีการพิมพ์งานอยู่ 2 แบบคือ

1.การพิมพ์งาน transfer เป็นแบบการพิมพ์สีพิมพ์ลงไปบนกระดาษหรือลงไปบนแผ่นฟิล์ม แล้วก็จะมีการพิมพ์กาวทับลงไปบนสีพิมพ์เพื่อที่จะได้มีการยึดเกาะลงไปบนผ้า ได้ โดยเทคนิคในการพิมพ์งานประเภทนี้จะมีอยู่หลายแบบดังนี้คือ

- การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์กึ่งอัตโนมัติ โดยพิมพ์สีพิมพ์ผ่านบล็อกสกรีนแล้วก็จะมีการพิมพ์กาวทับลงไปอีกครั้ง โดยในการพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์ได้เฉพาะงานพิมพ์ที่ไม่มีความละเอียดมากนัก เช่น การพิมพ์ป้ายไซด์

สำหรับการรีดติดคอเสื้อซึ่งจะไม่มีรายละเอียดมากในส่วนของลวดลาย

- การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ offset ซึ่งจะมีการพิมพ์ที่ละเอียดกว่าการพิมพ์แบบสกรีน แต่จะเหมาะสมการพิมพ์แบบ ภาพเสมือน เพราะในการพิมพ์จะพิมพ์แบบพิมพ์ 4 สี โดยในการพิมพ์แบบนี้จะใช้เครื่องพิมพ์

ที่มีหัวพิมพ์ 4 หัวพิมพ์โดยจะใช้เพลทในการพิมพ์ซึ่งจะใหค่าความละเอียดของลายพิมพ์มากกว่าการพิมพ์งาน

แบบสกรีน แต่จะไม่เหมาะกับการพิมพ์แบบสีตายเช่นการพิมพ์ป้ายไซด์

- การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ inkjet พิมพ์ลงไปบนวัสดุประเภท polyurethane ซึ่งมีการเคลือบกาวที่

ด้าน หลัง โดยในการพิมพ์แบบนี้จะมีต้นทุนที่สูงกว่าการพิมพ์งานแบบสกรีนและก็จะมีกำลัง การผลิตที่ต่ำกว่าการพิมพ์แบบสกรีน และในการพิมพ์งานแบบนี้ไม่ต้องมีการพิมพ์กาวลงไปบนลายพิมพ์ไม่เหมือนการ พิมพ์ในแบบข้างต้น

2.การพิมพ์งาน transfer ที่ใช้สีพิมพ์ disperse หรือ เรียกอีกอย่างว่าการพิมพ์แบบ sublimation ในการพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์ได้กับเส้นใยที่เป็นโพลีเอสเตอร์และไนล่อน และจะต้องรีดงานที่อุณหภูมิ 200 – 210 องศาเซลเซียสซึ่งในการพิมพ์นี้จะใช้หลักการทางเคมีของสีในการแทรกซึมเข้าไป ในเส้นใยไม่เหมือนงาน transfer ที่อาศัยกาวในการยึดเกาะกับเส้นใย ซึ่งจะมีเทคนิคการพิมพ์ดังนี้

- การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์สกรีนแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยจะพิมพ์สีพิมพ์ลงไปบนกระดาษประเภทกระดาษปอนด์หรืออาร์ตมัน ขึ้นอยู่กับเทคนิคในแต่ละโรงงาน โดยในการพิมพ์แบบนี้จะมีการพิมพ์งานที่ได้งานจำนวนไม่มากนักและเหมาะกับลาย พิมพ์ที่ไม่มีความละเอียดของลวดลายมากนัก

- การพิมพ์โดยใช้เครื่อง offset โดยจะพิมพ์งานที่มีความละเอียดมากๆได้เช่นงานที่เป็นเม็ดสกรีนแต่จะไม่เหมาะ กับการพิมพ์งานที่เป็นสีตาย และในกระบวนการผลิตจะสามารถพิมพ์งานได้มากกว่าการพิมพ์แบบสกรีน

- การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์แบบ inkjet โดยในการพิมพ์แบบนี้จะมีการพิมพ์ที่มีความละเอียดมากแต่จะมีกำลังการผลิตที่ น้อยกว่าการพิมพ์ในแบบข้างต้น และในการพิมพ์งานแบบนี้จะเหมาะกับการทำงานส่งตัวอย่าง

ลูกค้ามากกว่าการทำแบบ production และเหมาะที่จะทำงานที่เป็น order จำนวนน้อย

No comments:

Post a Comment