Saturday, July 30, 2011

ลายพิมพ์สกรีน

 > ทางลัดการออกแบบลายพิมพ์ผ้า..... 001/101
การออกแบบลายพิมพ์สกรีนผ้าทางลัด คือ การนำคลิปอาร์ต(Crip Art) สำเร็จรูปที่มีอยู่อย่างมากมายตามที่ต้องการและเห็นว่าเหมาะสมมามีส่วร่วมในการออกแบบลายพิมพ์ผ้า ซึ่งจะทำให้การออกแบบง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำไปแยกสีได้เลยทันที


> การเพิ่มความดำของฟิล์ม.....002/101
หลังจากพริ้นฟิล์มหรือไขจากเครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ หากฟิล์มยังดำไม่เข้มเพียงพอ ให้ใช้สเปร์พ่นเร่งความดำได้ สเปร์ชนิดนี้เรียกว่า D-toner Spray พ่นฟิล์มด้านหมึกดำ หมึกจะดำขึ้นมาทันที ซึ่งจะทำให้ฟิล์มหรือไขใช้ในการถ่ายบล็อกได้ดีขึ้น


> การแยกสีแบบฮาล์ฟโทน.....003/101
แต่เดิมจะใช้วิธีการแยกสีแบบภาพเหมือนจริงแบบ CMYK ซึ่งจะได้ฟิล์มสี่สี ซึ่งการแยกสีแบบเดิมจะพิมพ์ได้เฉพาะบนผ้าขาว หากต้องการพิมพ์ผ้าสีหรือผ้าดำจะต้องทำบล็อกรองพื้น ทำให้สีที่พิมพ์สกรีนลงไปแข็งกระด้างไม่นุ่ม และทำให้สสีที่พิมพ์สกรีนแต่ละชิ้นมีสีที่แตกต่างกัน ยากต่อการควบคุมสีลายพิมพ์ให้เหมือนกันทุกชิ้น จึงมีการใช้วิธีการแยกสีแบบฮาล์ฟโทน ในการแก้ไขเรื่องนี้ การแยกสีแบบนี้จึงเป็นที่นิยมและนำมาใช้การพิมพ์สกรีนผ้ามากขึ้น การแยกสีแบบนี้จะแยกสีตามสีของลายพิมพ์ เช่นลายพิมพ์มีสีเขียวก็ดึงสีเขียวเหมือนต้นแบบมาใช้เลย ไม่ต้องใช้วิธีสอดสีแบบ CMYK



> การยิงฟิล์มแทนไขในงานหลายสีและงานเม็ดสกรีน.....004/101
การยิงฟิล์มในงานหลายสีและงานเม็ดสกรีน เช่นงานไล่แกรเดี้ยน (Gradient) งานฟิล์มสอดสี (CMYK) และงานฮาล์ฟโทน(Halftone)หากต้องการงานคุณภาพควรใช้ฟิล์มแทนการใช้กระดาษไข เพราะกระดาษไขแต่ละสีที่พริ้นออกมาจะหดไม่เท่ากันและเม็ดสกรีนที่ยิงได้ก็ไม่กลมมนเหมือนยิงด้วยฟิล์มด้วย
ขอบคุณ  ข้อมูลดีๆจาก
http://www.skcolorchem.co.th


No comments:

Post a Comment