โดย อาจารย์ รุ่งทิพย์ อมรวชิรวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผลิตภัณฑ์พิมพ์สกรีนเสื้อผ้า หจก. เอส. เค. สีและเคมี ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมบล็อกสกรีน นำบล็อกสกรีนที่ขึงผ้าสกรีนเสร็จแล้ว มาทำความสะอาดไขผ้าและฝุ่นละอองที่ติดตามผ้าสกรีนให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างไขผ้าสกรีน วิธีทำความสะอาด ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาล้างไขผ้า 2 ชิ้น บิดให้แห้งหมาด นำผ้าประกบบล็อกที่ขึงผ้าแล้ว ใช้ผ้าที่ชุบนำยาขัดถูเป็นวงกลมไม่ต้องออกแรงมากเพราะอาจจะทำให้ผ้าสกรีนที่ขึงแล้วหย่อนได้ ข้อสังเกต ทั้งนี้อาจจะใช้ทินเนอร์ทำความสะอาดแทนก็ได้ แต่ทินเนอร์เป็นสารละลายโซเว้นท์ที่อาจจะทำลายโครงสร้างของผ้าสกรีนได้ ซึ่งจะทำให้ความตึงของผ้าสกรีนไม่เสถียรเท่าที่ควรและไม่ทนทานต่อการใช้งานนานๆ ขั้นตอนที่ 2 การโค้ตกาวถ่ายบล็อกเลือกกาวถ่ายบล็อกให้เหมาะสมกับประเภทของสีที่ต้องการใช้ เช่น กาวถ่ายบล็อกสีฟ้าและกาวถ่ายบล็อกสีม่วงเหมาะสำหรับสีพิมพ์สูตรน้ำ ส่วนกาวถ่ายบล็อกสีชมพูเหมาะกับสีพิมพ์สูตรน้ำมัน วิธีผสมกาวถ่ายกับน้ำยาไวแสง การผสมกาวถ่ายบล็อกกับน้ำยาไวแสง โดยทั่วไปจะใช้อัตราส่วนผสม 1 ต่อ 10 หรือ 1 ต่อ 5 ขึ้นอยู่กับความข้นเหลวของกาวและความเข้มข้นของมวลสารในสารละลายไวแสง ผกผันกันดังนี้ กรณีที่ใช้เครื่องถ่ายบล็อกลมดูด หลอดไฟเมททัลฮาร์ไลท์ 3,000 วัตต์ 1. บล็อกสกรีนที่ต้องการพิมพ์หลายสี
2. บล็อกสกรีนที่ต้องการพิมพ์ออฟเซ็ท
ข้อสังเกต 1. ควรผสมกาวแล้วคนเบาๆ ช้า ๆ เพื่อไม่ให้ฟองอากาศเข้าไปในกาวมากนัก 2. ควรผสมกาวและไวแสง ก่อนใช้ 15 นาที เป็นอย่างน้อย 3. กาวที่ผสมไวแสงแล้วเก็บไว้ได้ถึง 7 วัน 4. แหล่งกำเนิดแสง ระยะห่างของหลอดไฟกับกระจก มีผลต่อการกำหนดอัตราส่วนของไวแสงและระยะเวลาถ่าย ซึ่งอาจจะต้องกำหนดขึ้นมาเองตาม สัดส่วนที่ผกผันกัน 5. ในกาวถ่ายชนิดเดียวกัน เราสามารถลดหรือเพิ่มไวแสงและเวลาซึ่งกันและกันได้ เช่น ถ้าใส่ไวแสงมากเวลาก็จะใช้น้อยลง และถ้าใส่ไวแสงน้อยก็ต้อง เพิ่มเวลาถ่ายบล็อก เป็นต้น วิธีโค้ตกาวถ่ายบล็อกให้ได้กาวถ่ายบล็อก ขั้นตอนที่ 3 การอบบล็อกสกรีนก่อนถ่าย นำบล็อกสกรีนที่โค้ตกาวแล้วมาอบที่เครื่องอบบล็อกสกรีน วิธีอบบล็อกสกรีน บล็อกสกรีนหลายสีจะใช้เวลาอบบล็อกมากกว่าบล็อกสกรีนเม็ดสกรีนออฟเซ็ท
ข้อสังเกต 1.หากไม่มีเครื่องอบบล็อกให้ใช้พัดลมเป่าก็ได้ แต่จะต้องระวังไม่ให้ฝุ่นละอองปลิวมาติดกาวถ่ายเพราะอาจจะทำให้กาวถ่ายที่โค้ตไว้เป็นเม็ด ซึ่งจะมีผลเสียต่อการถ่ายบล็อก 2.หากใช้พัดลมเป่าแทนเครื่องอบบล็อกจะต้องอบบล็อกสกรีนหลายสีให้แห้ง แต่บล็อกออฟเซ็ทควรแห้งหมาดเท่านั้น เพราะถ้าให้แห้งมากจะไม่สามารถล้าง ลายออกได้ดี ขั้นตอนที่ 4 การวางตำแหน่งแบบในบล็อกสกรีน บริเวณที่ผ้าสกรีนขึงบนบล็อกทุกตารางนิ้วจะมีความตึงไม่เท่ากันอย่างทั่วถึง บริเวณที่ใกล้กับกรอบจะมีความตึงสูงกว่าบริเวณพื้นที่ส่วนกลางบล็อก เพราะฉะนั้นพื้นที่ที่จะใช้วางจะต้องกำหนดพื้นที่วางลายพิมพ์ที่เหมาะสม วิธีโค้ตกาวถ่ายบล็อก 1. นำบล็อกสกรีนที่ขึงผ้าสกรีนเรียบร้อยมาวางพาดด้านในบล็อกขึ้นโดยบล็อกวางเฉียงกับพื้นโต๊ะปราณ45º | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. นำกาวถ่ายบล็อกที่ผสมน้ำยาไว้แล้วเทใสรางปาดกาวเป็นแนวยาวตามรางปาดกาวที่เตรียมไว้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. นำรางปาดกาวแนบกับผ้าสกรีนด้านในบล็อกบริเวณด้านล่างแล้วลากรางปาดกาวขึ้น เมื่อปาดเสร็จให้ช้อนกาวกลับเข้าไปในรางเช่นเดิมแล้วนำรางปาดกาวถ่าย บล็อกเช่น ตอนแรกทำเช่นนี้ 2-3 เที่ยว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3.4. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5.6. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. พลิกบล็อกสกรีนด้านหลังบล็อกขึ้นมา แล้วนำรางปาดกาวที่ใส่กาวถ่ายบล็อกไว้แล้วปาดกาวลงไปเช่นเดียวกับข้อ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7.8. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9.10. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อสังเกต 1. การโค้ตกาวถ่ายบล็อกจะต้องโค้ตกาวจากด้านในบล็อกก่อนด้านในบล็อก 2. การโค้ตกาวจะโค้ตกาวเพียงทางเดียวคือโค้ตกาวขึ้นจากล่างขึ้นบนเท่านั้น 3. การโค้ตกาวให้เรียบเนียนจะมีผลดีในการถ่ายบล็อก วิธีวางตำแหน่งแบบในบล็อกสกรีน ให้วางตำแหน่งลายที่ต้องการถ่าย ให้ห่างจากกรอบด้านข้างทั้งสองด้านและด้านบนมากกว่า 2.5 นิ้ว ส่วนด้านล่างควรห่างอย่างต่ำ 4 นิ้ว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อสังเกต การวางตำแหน่งลายพิมพ์ชิดกรอบมากเกินไป อาจจะทำให้ลายพิมพ์สกรีนที่บริเวณใกล้กับกรอบบิดเบี้ยวได้ ขั้นตอนที่ 5 การถ่ายบล็อกด้วยแสง การถ่ายบล็อกด้วยแสง หมายถึง การที่ให้ลำแสงจากหลอดไฟพุ่งผ่านฟิล์มที่บังไว้ไปกระทบกับกาวถ่ายบล็อกที่เคลือบอยู่บนบล็อกสกรีนให้กาวถ่ายบริเวณที่ถูกแสงแข็งตัว ส่วนกาวถ่ายบล็อกที่มีเงาดำของลายพิมพ์บนฟิล์ม แสงจะไม่วิ่งผ่านทำให้กาวที่บริเวณนี้ไม่แข็งตัว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปัจจัยการถ่ายบล็อกสกรีน 1. ถ่ายบล็อกจากแหล่งกำเนิดแสงหลายจุด หลอดที่มีแหล่งกำเนิดแสงหลายจุดส่วนใหญ่จะเป็นหลอดที่มีกำลังไฟต่ำ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ การที่หลอด มี กำลังไฟต่ำจึงทำให้ต้องใช้หลอดหลายๆ หลอด ซึ่งในแต่ละหลอดจะพุ่งแสงที่หักเหกันไม่เป็นระเบียบ และเมื่อมีหลายหลอดจึงทำให้ลำแสงที่พุ่งออกมาไม่ เป็นระเบียบมากขึ้น และจะทำให้แสงส่องเฉียงเข้าไปในขอบที่ฟิล์มดำบังอยู่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ลายพิมพ์ไม่คมชัด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. ถ่ายบล็อกจากแหล่งกำเนิดแสงจุดเดียว หลอดที่มีแหล่งกำเนิดแสงจุดเดียวได้แก่หลอดเมททัลฮาร์ไลด์ แสงที่พุ่งออกมาจะเป็นระเบียบ ซึ่งแสงจะสามารถ ส่องเฉียงเข้าไปในขอบฟิล์มดำได้เล็กน้อย ทำให้ได้ลวดลายที่คมชัดมากกว่าการถ่ายบล็อกจากหลอดที่มีแหล่งกำเนิดแสงหลายจุด และแหล่งกำเนิดแสงชนิด นี้ก็มีกำลังไฟสูงจึงไม่ต้องใช้หลอดไฟหลายหลอด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. ถ่ายบล็อกด้วยตู้ถ่ายบล็อกไม่มีลมดูด จะได้บล็อคที่ไม่คมชัด เนื่องจากแสงจะสะท้อนหักเหไปมาได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. ถ่ายบล็อกด้วยเครื่องถ่ายบล็อกมีลมดูด จะได้ลายบนบล็อกสกรีนที่คมชัดกว่า เนื่องจากแสงจะไม่สามารถหักเหได้เลย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีการถ่ายบล็อกสกรีนหลายสีและออฟเซ็ท 1. ทำความสะอาดหน้ากระจกเครื่องถ่ายบล็อกก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้คราบสกปรกหรือฝุ่นละอองติดไปกับการถ่ายบล็อก นำหลักบังคับ 2 หลัก ไปวางบนหน้ากระจกให้บล็อกที่มีบังคับบล็อกแล้วสามารถสอดใส่ได้พอดี 2. นำฟิล์มที่เตรียมไว้วางบนหน้ากระจกแล้วติดเทปใสกันฟิล์มเคลื่อนไว้ด้วย 3. นำบล็อกที่ใส่บังคับบล็อกและอบกาวแห้งแล้วมาวางหงายบนฟิล์ม โดยให้ตำแหน่งฟิล์มอยู่กึ่งกลางบล็อก ระวังให้ส่วนล่างของลายห่าง จากกรอบสกรีนมากกว่า 4 นิ้ว เสมอ เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับพักสีได้ 4. ปิดฝาเครื่องถ่ายบล็อก เปิดสวิทช์ลมดูด ให้บล็อกแนบกับกับฟิล์ม 5. ตั้งเวลาการถ่ายบล็อกตามชนิดของกาว ตามตารางเรื่องการผสมกาวและไวแสง 6. นำบล็อกไปล้างลายออกที่เครื่องล้างบล็อก 7. ตัดมาร์คฟิล์มแผ่นแรกที่ถ่ายแล้ว ให้ค้างไว้ที่หน้ากระจก แล้วนำฟิล์มแผ่นต่อไปที่ต้องการถ่ายมาวาง ให้มาร์คของฟิล์มใหม่ทับมาร์คของฟิล์ม เก่าให้สนิท 8. นำบล็อกใบต่อไปใส่ในหลักบังคับที่หน้ากระจก แล้วเปิดสวิทช์ลมดูด ตั้งเวลา และถ่ายแสงเช่นเดียวกับการถ่ายบล็อกใบแรก ทำเช่นนี้จนครบ ทุกบล็อก ข้อสังเกต 1.จำนวนบล็อกที่จะต้องถ่ายจะขึ้นอยู่กับจำนวนฟิล์มที่แยกสีออกมา 2.เวลาในการถ่ายบล็อกแต่ละประเภทจะไม่เท่ากัน ให้ดูเรื่องเวลาที่ใช้ในการถ่ายบล็อกในตารางการผสมกาวกับน้ำยาไวแสง 3.เวลาที่ใช้ในการถ่ายลายเล็กจะใช้น้อยกว่าลายใหญ่ ๆ เช่น ลายเล็กถ่าย 10 วินาที ลายใหญ่ถ่าย 20 วินาที เป็นต้น 4.เวลาที่ใช้ถ่ายลายที่มีรายละเอียดมากๆ จะใช้เวลาน้อยกว่าลายที่มีรายละเอียดหยาบ ๆ 5.แหล่งกำเนิดแสงจากหลอดเมลทัลฮาร์ไลด์ถ่ายบล็อกได้ดีกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ เพราะจะได้ภาพที่คมชัดกว่า 6.เครื่องถ่ายบล็อกที่มีลมดูดจะทำให้ถ่ายได้คมชัดกว่าเครื่องถ่ายบล็อกที่ไม่มีลมดูด เพราะฟิล์มและบล็อกในเครื่องถ่ายบล็อกที่มีลมดูดจะแนบสนิทกันกระจก ทำให้ ไม่เกิดการหักเหของแสงได้เลย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขั้นตอนที่ 6 การล้างลาย เป็นการล้างเอากาวถ่ายบล็อกที่ยังไม่ถูกแสงเนื่องจาถูกฟิล์มดำบังไว้ออก โดยการใช้น้ำฉีดออก ให้เหลือเฉพาะบริเวณที่ทำปฏิกิริยากับแสงแล้ว ซึ่งเมื่อกาวที่ถูกล้างออกไปแล้วก็จะเกิดเป็นลายฉลุโปร่ง สีหรือหมึกพิมพ์สามารถลอดผ่านไปได้ วิธีล้างลาย 1.อย่าเพิ่งเปิดไฟ ให้ใช้น้ำชโลมบล็อกให้เปียกก่อนแล้วเปิดไฟ จะสังเกตเห็นว่าบล็อกที่เปียกน้ำแล้วบริเวณที่เป็นลายสกรีนจะบวมน้ำขึ้น ให้ใช้น้ำในเครื่อง ล้างบล็อกล้างลายออก ควบคุมอย่าให้น้ำแรงมาก หรือจะใช้กระบอกฉีดน้ำแทนก็ได้ การฉีดน้ำเพื่อล้างลายในครั้งแรกให้ฉีดหลังบล็อกก่อน แล้วกลับบล็อกมา ฉีดอีกด้านหนึ่ง เปิดไฟหลังเครื่องล้างบล็อก ตรวจเช็คดูว่ากาวถ่ายบล็อกออกหมดแล้วหรือยัง ถ้ายังเห็นว่ายังมีคราบกาวที่ไม่ถูกแสงเหลืออยู่ก็ให้ฉีดซ้ำได้ ไม่ควรใช้น้ำแรงในขั้นตอนนี้ หรืออาจจะใช้กระบอกฉีดน้ำฉีดออกก็ได้ 2.นำบล็อกไปอบที่เครื่องอบบล็อกให้แห้งสนิท ที่อุณหภูมิ 80-90 0c เวลา 20 นาที หากไม่มีให้ใช้พัดลมหรือไดร์เป่าให้แห้งสนิท | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อสังเกต 1.หลังจากถ่ายบล็อกเสร็จแล้ว ถ้าหากเปิดไฟเลย แสงจากหลอดนีออนจะทำปฏิกิริยากับไวแสงของบล็อกต่อได้ ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้กาวแข็งตัวขึ้นได้ ทั้ง บริเวณที่โดนแสงแล้วในเครื่องถ่ายบล็อกและบริเวณที่ไม่โดนแสง 2.หากล้างลายที่เป็นงานเม็ดสกรีนออฟเซ็ท อย่าใช้แรงน้ำที่แรงมาก การใช้กระบอกฉีดน้ำฉีดออกดูเหมือนว่าจะเหมาะสมกว่าการใช้แรงน้ำจากหัวฉีดน้ำของ เครื่องล้างบล็อก ขั้นตอนที่ 7 การเคลือบบล็อก เป็นการเคลือบบล็อกด้วยสารเคมีเพื่อให้กาวถ่ายบล็อกมีความคงทนขึ้น วิธีเคลือบบล็อก การเคลือบบล็อกชั่วคราว1.ใส่ถุงมือกันสารเคมีกัด 2.นำผ้าชุบน้ำยาเคลือบบล็อก เช็ดด้านหน้าและด้านหลังบล็อกให้ทั่ว 3.อบบล็อกให้แห้ง โดยใช้อุณหภูมิ 120 0c เวลา 25 นาที จะล้างน้ำออกหรือไม่ล้างน้ำก็ได้ การเคลือบบล็อกถาวร 1.ใส่ถุงมือกับสารเคมีกัด 2.นำผ้าชุบน้ำยาไวแสง เช็ดด้านหน้าและด้านหลังบล็อกให้ทั่ว 3.อบบล็อกให้แห้ง โดยใช้อุณหภูมิ 50 0c เวลา 20 นาที แล้วนำเข้าเครื่องถ่ายบล็อกอีกครั้ง ถ่ายแสง ทั้งสองข้าง ข้างละ 10 วินาที 4.ล้างน้ำออกให้สะอาด ข้อสังเกต 1.น้ำยาเคลือบบล็อกที่มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่น มีคุณสมบัติเป็นกรด ทำให้ต้องสวมถุงมือยางเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยากัดมือ 2.การเคลือบบล็อกด้วยน้ำยาเคลือบบล็อกเป็นการเคลือบบล็อกเพื่อให้บล็อกทนน้ำในการพิมพ์สกรีนด้วยสีพิมพ์สกรีนสูตรน้ำ 3.การเคลือบบล็อกด้วยไวแสง ไวแสงเป็นสารอันตรายก่อมะเร็งได้ จึงต้องสวมถุงมือก่อนที่จะสัมผัสโดยตรง 4.กาวถ่ายบล็อกสีชมพูไม่นิยมใช้กับน้ำยาเคลือบบล็อก เพราะกาวถ่ายบล็อกสีชมพูจะใช้ในการพิมพ์สกรีนสีน้ำมัน ซึ่งการพิมพ์สีน้ำมันจะใช้ผ้าสกรีนที่มีความละเอียด เส้นใยเล็ก ดังนั้น น้ำยาเคลือบบล็อกที่มีคุณสมบัติเป็นกรด จึงอาจจะทำให้ผ้าสกรีนขาดได้ และหากต้องการที่จะเคลือบบล็อกให้ทนทานขึ้น จึงนิยมใช้น้ำยาไวแสงเคลือบบล็อกแทน ขั้นตอนที่ 8 การเก็บบล็อกเพื่อเตรียมพิมพ์ เป็นขั้นตอนที่จะต้องเก็บกรอบที่มีรอยแม็กช์ยิงให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้คราบสีไปเกาะตามรอยแม็กช์ยิง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้สีที่ค้างอยู่ไปทำให้ชิ้นงานอื่นที่ต้องการพิมพ์เปื้อนได้ รวมถึงเพื่อให้ถือบล็อกได้สะดวก และรักษาผ้าที่มีรอยแม็กช์ยิงขาดบางส่วนให้คงทนขึ้น ในกรณีที่ใช้กาวทากรอบบล็อกแทนก็ต้องเก็บงานที่กรอบให้เรียบร้อยเช่นกัน เพราะกาวทากรอบบล็อกไม่ทนน้ำมัน ถึงจะทนน้ำก็ไม่มากนัก วิธีการติดเทป 1. ติดเทป OPP สีน้ำตาล หรือกระดาษกาวน้ำขนาดกว้าง 2 นิ้ว โดยติดด้านในทั้งสี่ด้านก่อน ให้ปิดเลยกรอบในของบล็อกสกรีนเข้าไปบริเวณที่ผ้าขึงไว้ 1 นิ้ว โดยให้ปิดด้านในก่อน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.2. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. 4. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5. 6 . | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7. 8. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. ติดเทปหรือกระดาษด้านหลังบล็อกทั้งสี่มุม โดยให้ขอบเทปหรือกระดาษด้านนี้ตรงกับอีกด้านหนึ่ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9.10. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11. 12. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13. 14. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15. 16. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3.ติดกรอบนอกทั้งสี่ด้านให้มิดชิด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17. 18. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อสังเกตเทปหรือกระดาษที่เลือกใช้ควรเป็นชนิดดีหรือเหนียวมาก เพราะบล็อกที่ทำงานเสร็จแล้วจะต้องใช้น้ำมันหรือน้ำล้างเป็นประจำ ขั้นตอนที่ 9 การล้างกาวถ่ายบล็อกออกเป็นการล้างกาวถ่ายบล็อกออก เพื่อนำบล็อกกลับมาใช้ใหม่ การล้างนี้จะใช้ได้เฉพาะการกาวถ่ายบล็อกที่ยังไม่ได้เคลือบหรือที่เคลือบแบบชั่วคราวมาเท่านั้น วิธีการล้างกาวถ่ายบล็อกออก1. ล้างโดยใช้คลอรีน ทำบล็อกสกรีนให้เปียกน้ำก่อนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โรยคลอรีนด้านในบล็อกเพียงด้านเดียวให้ทั่ว สวมถุงมือยางเกลี่ยคลอรีนให้ทั่ว ทิ้งไว้ 25 นาที ล้างน้ำออก สวมถุงมือยางขัดถูด้วย 2. ล้างโดยคลอรีนและโซดาไฟ ให้ผสมคลอรีนและโซดาไฟ ในอัตราส่วน 70 ต่อ 30 ให้เข้ากัน โรยให้ทั่ว สวมถุงมือยางเกลี่ยให้ทั่วบล็อก ทิ้งไว้ 15 นาที ล้างน้ำออก สวมถุงมือยางขัดถูด้วย3. ล้างด้วยผงล้างบล็อกสังเคราะห์ ใช้มือเปล่าในการโรยผงล้างบล็อกหรือจะสวมถุงมือยางก็ได้ เมื่อโรยเสร็จแล้วสามารถล้างกาวถ่ายบล็อกออกได้เลย4. หากบล็อกยังมีคราบกาวถ่ายบล็อกติดอยู่บ้างให้ใช้น้ำยาขัดบล็อกขัดคราบกาวเบา ๆ ออกได้ ข้อสังเกต1. ผงล้างบล็อกเป็นสารล้างบล็อกที่มีความปลอดภัยที่สุด ไม่กัดมือ ไม่มีกลิ่น และมีคุณสมบัติในการกัดกาวถ่ายบล็อกได้ดีมาก บล็อกใสไม่เป็นฝ้าขาวที่เส้นใย2. หากใช้คลอรีนแช่นานเกินไป จะเกิดฝ้าขาว ๆ ที่ผ้าสกรีน จะต้องใช้น้ำยาขัดบล็อกเช็ดออก *ข้อมูลทั้งหมดที่ระบุไว้ในบทความข้างต้นนี้ รวมทั้งคำแนะนำต่าง ๆ ล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากความรู้และความเข้าใจในปัจจุบันของผู้เขียนทั้งสิ้น และถือได้ว่าความรู้ดังกล่าวมีความถูกต้องแม่นยำแล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนยังไม่สามารถให้การรับประกันความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลและคำแนะนำดังกล่าวได้ในทุก ๆ กรณี เนื่องจากผู้เขียนไม่อาจคาดคะเนได้ว่าผู้อ่านจะนำข้อมูลหรือคำแนะนำ ไปใช้เมื่อใด ทางด้านใดบ้าง และมีปัจจัยอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและผู้เขียนขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูล และคำแนะนำข้างต้นตลอดเวลาด้วยโดยไม่มีการแจ้างให้ทราบล่วงหน้า* ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก |
เพ้นท์เสื้อขาย( ้hands made shirt )Pages
Wednesday, August 10, 2011
วิีธีการถ่ายบล็อกสกรีนและการอัดกาวอย่างมืออาชีพ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment