Saturday, July 30, 2011

วิธีใช้น้ำยาเคลือบบล็อค


> การทำบล็อกหนา .....017/101การทำบล็อกสกรีนให้หนาเพื่อประโยชน์ของการพิมพ์งานให้หนาขึ้น ทำได้ 3 วิธี
1. โค้ตกาวถ่ายบล็อกด้านหลังบล็อก (ด้านสัมผัสกับแป้นพิมพ์สกรีน) ให้มากรอบขึ้น การโค้ตกาวให้
รูดจากด้านล่างขึ้นบน ในลักษณะทิศทางเดียว และรูดรางปาดกาวช้า ๆ กาวถ่ายบล็อกที่เตรียมเพื่อกาว
โค้ตกาวควรมีความข้นสูงจะทำให้กาวหนาขึ้นได้ง่ายขึ้นอีก และช่วยให้ไม่ต้องโค้ตกาวมากรอบอีกด้วย
วิธีนี้อาจจะทำให้ถ่ายแสงล้างลายยาก
2. ใช้กาวถ่ายบล็อกเฉพาะ คือ กาวถ่ายบล็อกหนา SK-G โค้ต จะทำให้โค้ตกาวได้หนาง่ายและสะดวก
ขึ้น และเมื่อนำไปถ่ายแสง ก็จะล้างลายได้ง่ายขึ้น
3. ใช้ฟิล์มถ่ายบล็อกสำเร็จรูปติดบนด้านหลังบล็อก วิธีนี้จะต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก และแผ่นฟิล์มที่ปะติด
อาจไม่ทนทานมากนัก

> การวางตำแหน่งลายบนบล็อกสกรีน .....018/101
การวางตำแหน่งลายพิมพ์บนบล็อกสกรีน ให้วางที่จุดกึ่งกลางของบล็อกเสมอ แต่จะต้องให้ขอบของลาย
พิมพ์สกรีน อยู่ห่างจากขอบในด้านข้างทั้งสองข้างและด้านบนไม่ต่ำกว่า 2.5 นิ้ว เพราะแรงตึงของผ้าสกรีน
ใกล้ขอบบล็อกจะมีความตึงมากกว่า ซึ่งอาจจะทำลายพิมพ์ไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการก็ได้ ส่วนด้านล่าง
ให้ห่างจากขอบล่างไม่ต่ำกว่า 4 นิ้ว เพื่อพักสี


> การโค้ตกาวถ่ายบล็อกให้เรียบเนียน.....019/101
การโค้ตกาวถ่ายบล็อกให้เรียบเนียนจะทำให้บล็อกสกรีนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เทคนิคการโค้ตกาวให้เรียบ
เนียนขั้นต้น อยู่ที่การมีรางปาดโค้ตกาวที่มีคุณภาพ เหมาะกับมือ ปากรางปาดตัดตรงสม่ำเสมอ ไม่มีฟันปลา
และมีขนาดยาวพอดีกับหน้าผ้าสกรีน ที่ขึงแล้วในบล็อก ขั้นต่อไป คือความชำนาญของการโค้ตกาว ผู้ที่มี
ความชำนาญเวลาโค้ตกาวจะโค้ตจากข้างล้างขึ้นข้างด้วยความเร็ว ที่สม่ำเสมอ แรงกดรางปาดกาวที่สมำเสมอ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นลักษณะของแต่ละบุคคล รวมถึงการฝึกฝนอย่างมีทักษะด้วย การโค้ตกาวถ่ายบล็อกบน
ผ้าสกรีนที่มีความถีห่างของผ้าสกรีนต่างกันก็จะไม่เหมือนกัน การโค้ตกาวถ่ายบล็อกผ้าสกรีนที่มีความถี่ ของผ้า
สกรีนมากจะโค้ตกาวถ่ายบล็อกได้ง่ายกว่าผ้าสกรีนที่มีความห่างของผ้าสกรีนมาก การโค้ตกาวถ่ายบล็อกบน
ผ้าสกรีนที่มีรูผ้าสกรีน ห่าง ๆ เช่น ผ้าสกรีนพิมพ์กากเพชร จะต้องโค้ตกาวมากรอบกว่า จังหวะการรูดรางปาด
กาวขึ้นก็ต้องช้า ๆ และสม่ำเสมอ ถ้าจะให้ง่าย ก็ควรจะใช้กาวถ่ายบล็อกเฉพาะ คือ กาวถ่ายบล็อกหนาแทนกาว
ถ่ายบล็อกทั่วไปได้ เพราะกาวถ่ายบล็อคชนิดนี้จะปิดรูถ่าง ของผ้าสกรีนได้ง่ายและทันทีในรอบแรก
> พิชิตบล็อกถ่ายยาก .....020/101

พิชิตบล็อกถ่ายยาก ปัญหาบล็อกสกรีนถ่ายลายยากมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย เช่น คุณภาพของกาวถ่ายบล็อก
ที่ใช้ การแห้งตัวของกาวที่โค้ตลงไป ปริมาณของไวแสงที่ใส่ลงไป กำลังไปที่ใช้ระยะเวลาในการถ่ายแสง
การฉีดน้ำเพื่อล้างลาย และความชำนาญของผู้ทำงาน เป็นต้น ดังนั้นผู้ถ่ายจะต้องศึกษาและสัมผัสกับงานนี้
ให้ได้ด้วยการเรียนรู้และฝึกหัด***อย่างถูกต้อง เมื่อมีความเข้าใจอย่างลึกซึ่ง ก็จะทำให้ผู้ใช้สามาถพิซิต
เรื่องนี้ได้เอง
> เทคนิคการถ่ายบล็อกง่าย ๆ .....021/101

การถ่ายบล็อกที่ง่ายที่สุด คือการถ่ายบล็อกโดยใช้แสงนีออน เพราะแสงนีออนมีอยู่ทั่วไป เพียงแต่ว่าเราจะ
จัดวางแสงนีออนให้อยู่ในตำแหน่งใด จะให้อยู่ใต้บล็อกหรือเหนือบล็อกสกรีนก็สามารถถ่ายได้ทั้งนั้น เพียง
แต่ควรระวังไม่ให้บล็อกที่โค้ตกาวแล้วโดนแสงที่ไม่ได้ใช้ในการถ่ายบล็อกเพราะอาจจะทำให้ไวแสงบางส่วน
ไปทำปฏิกิริยากับแสงก่อน การถ่ายบล็อกก็จะยากขึ้น สำหรับการถ่ายบล็อกโดยใช้แสงอาทิตย์ก็อาจจะทำได้
แต่จะยากกว่าการถ่ายโดยใช้หลอดนีออน เพราะแสงอาทิตย์เราไม่สามารถเปิดปิดได้ตามต้องการ และเป็น
แสงที่ไม่นิ่งและต้องรอเวลาที่แสงแดดมีกำลังแสงมากพอด้วย
> การใช้กำลังแสงในการถ่ายบล็อก ....022/101

กำลังและเวลาในการถ่ายบล็อกสกรีนเป็นเรื่องที่ผกผันกัน คือถ้าตู้ถ่ายบล็อกมีกำลังแสงมากก็จะใช้เวลาน้อย
ในการถ่ายแสง และถ้าตู้ถ่ายบล็อกมีกำลัแสงน้อยก็ต้องใช้เวลาในการถ่ายบล็อกมากขึ้นและนอกจากนี้น้ำยา
ไวแสงที่เติมลงไปในกาวถ่ายบล็อกสกรีนปริมาณมากน้อยก็มีผลกับการถ่ายแสงด้วยเหมือนกัน คือการเติม
น้ำยาไวแสงมากก็จะใช้เวลาถ่ายน้อยลงแต่ถ้าเติมน้ำยาไวแสงน้อยก็ต้องใช้เวลาถ่ายแสงมากขึ้น ดังนั้นผู้ถ่าย
บล็อกก็ต้องคำนวนเรื่องเหล่านี้ไว้ทำงานด้วย
> ล้างลายในบล็อกสกรีนอย่างง่ายๆ .....023/101

การล้างลายหลังจากถ่ายบล็อกสกรีนเสร็จแล้ว อาจจะพบว่าบางที่ล้างลาบออกง่ายเกินและบางทีก็ล้างลายยาก
เกินไป ปัจัจยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เพราะว่า กำลังไปที่ถ่ายแสงและเวลาผกผันกันอย่างไม่เหมาะสม
อีกสาเหตหนึ่งก็คือ ความเข้มข้นของน้ำยาไวแสงที่ใช้หรืออัตราการใสน้ำยาไวแสงสำหรับสาเหตุประการสุดท้าย
คือ กาวถ่ายบล็อกสกรีนแห้งเกินไปนั่นเอง ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้ล้างลายง่าย ๆ คือ การหาค่าที่ลงตัวระหว่าง กำลังไฟ
เวลา น้ำยาไวแสง การแห้งตัวของกาว ซึ่งสามารถคาดคะเนการทำงานได้ดังนี้ หากตู้ถ่ายบล็อกมีกำลังไฟสูง
ก็ต้องใช้เวลาน้อยลง หากใสน้ำยาไวแสงมากกาวไวต่อแสงมาก อยู่แล้ว เวลาและกำลังไฟก็ต้องลดลง สำหรับ
กาวถ่ายบล็อกหากอบให้แห้งมากเกินไปพื้นที่ที่มีฟิล์มดำบังไว้จะไม่บวมน้ำ ทำให้ล้างลายยาก
> การเคลือบบล็อกสกรีนให้ทนทาน .....024/101

เทคนิคการเคลือบบล็อกให้ทนทานมากๆ ให้ใขน้ำยาไวแสงเคลือบบล็อกได้เลย เคลือบบนกาวถ่ายบล็อกได้
ทุกชนิด วิธีเคลือบบล็อกให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาไวแสงเช็ดด้านหน้าและด้านหลังบล็อก แล้วเป่าแห้งหลังจากแห้งดี
แล้ว ให้นำไปถ่ายแสงที่ตู้ถ่ายบล็อค หรือนำไปตากแดดก็ได้ การถ่ายแสงหรือการถ่ายบล็อกจะวิธีที่ทำให้น้ำยา
ไวแสง ไปทำปฏิกิริยากับแสง ซึ่งจะทำให้กาวถ่ายบล็อกแข็งแกร่งขึ้น ทนทานต่อการพิมพ์สกรีนสูงวิธีนี้จะล้าง
กาวถ่ายบล็อคออก เพื่อนำบล๊อดสกรีนมาถ่ายลายใหม่ไม่ได้ ซึ่งจะต้องทำการขึงผ้าสกรีนใหม่เท่านั้น
> เคลือบบล็อกแล้วผ้าสกรีนขาด .....025/101

การเคลือบบล็อกสกรีนมีอยู่ 2 วัตถุประสงค์ คือเคลือบเพื่อให้บล็อกสกรีนทนต่อสีพิมพ์สกรีนสูตรน้ำ การเคลือบ
แบบนี้นิยมเคลือบบน กาวถ่ายบล็อกสีฟ้าและกาวถ่ายบล็อกสีม่วง ผ้าสกรีนทีใช้ในการพิมพ์สกรีนสีพิมพ์สกรีนสูตร
น้ำจะเป็นผ้าสกรีนเส้นใหญ่ และมีรูผ้าสกรีนระหว่าง 100-135 รู/นิ้ว เมื่อถูกเคลือบบล็อกทีมีสภาะเป็นกรดผ้า
สกรีนเหล่านี้จะทนทานต่อสภาวะกรดดังกล่าวได้ ผ้าจะไม่ขาด อีกวัตถุประสงค์หนึ่งที่ต้องเคลือบบล็อกคือ ต้อง
การเคลือบบล็อกให้ทนทานต่อการใช้งานอย่างถาวร วิธีนี้จะใช้เคลือบ น้ำยาไวแสงเคลือบแทน ซึ่งการเคลือบ
บล็อกในลักษณะนี้จะใช้เคลือบได้กับกางทุกประเภท ถึงแม้นว่าจะเคลือบที่กาวถ่าบล็อกสีชมพู จะสามารถเคลือบ
ได้ผ้าสกรีนจะไม่ขาด แต่ที่เคลือบบล็อกแล้วบล็อกสกรีนขาด อาจจะเป็นเพราะว่านำน้ำยาเคลือบบล็อกไปเคลือบ
บนผ้าสกรีนที่มีเส้นในเล็กบาง ๆ ส่วนใหญ่ผ้าสกรีนชนิดนี้มักจะถูกใช้กับกาวถ่ายบล็อกสีชมพู ซึ่งเป็นการเคลือยบล็อก
ผิดประเภทนั่นเอง โดยทั้วไปผ้าสกรีนเส้นเล็ก ๆ และลเอียด ๆ มักจะใช้ในการพิมพ์สีนำมัน ดังนั้นการใช้กาวถ่าย
บล็อกสีชมพู จึงไม่จำเป็นต้องเคลือบบล็อก เพราะไม่ได้ใช้พิมพ์สีพิม

 ขอบคัณ ขอ้มมูลดีๆ จาก
http://www.skcolorchem.co.th     







 ขอบคุณ  ข้อมูลดีๆจาก 

                                                                            


   






 ขอบคุณ  ข้อมูลดีๆจาก 
                                                                            http://www.skcolorchem.co.th   

No comments:

Post a Comment