Saturday, July 30, 2011

เส้นทางอาชีพ ถ่ายบล็อคสกรีน ไม่ติดทำไงดี

การถ่ายบล็อตสกรีน

การพิมพ์สกรีนขั้นพื้นฐาน

การพิมพ์สกรีน
เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้หลักการปาดสีหรือหมึกพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนที่ขึงตึงบนกรอบที่ทำขึ้น โดยปิดและเปิดบริเวณรูผ้าสกรีนให้มีลายภาพตามความต้องการ การพิมพ์นี้สามารถพิมพ์ได้กับวัสดุหลายชนิด เช่น กระดาษ สติกเกอร์ ไม้ ผ้า กระจก กระเบื้อง เซรามิค พลาสติก โลหะ ฯลฯ และหลายรูปทรง เช่น วัสดุพื้นราบ ทรงกระบอก และวัสดุรูปทรงไข่ เป็นต้น ทั้งที่มีขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่โดยไม่จำกัด
ปัจจุบันระบบการพิมพ์สรีนเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ และวงการศึกษามากขึ้น เช่น ใช้พิมพ์สินค้าให้สวยงามน่าใช้ ใช้พิมพ์ป้าย งานสื่อโฆษณา - ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เป็นต้น และนับว่าเป็นระบบการพิมพ์งาน์ที่ใช้ลงทุนน้อยโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ - เครื่องมือเครื่องใช้เพียงไม่กี่ชนิดก็สามารถพิมพ์ได้
กระบวกการพิมพ์สกรีน เป็นระบบการพิมพ์ที่มีขั้นตอนการทำงานที่ง่าย
สามารถจำแนกออกได้ 3 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมแม่พิมพ์สกรีน (Pre - Stencil) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
- การขึงสกรีน
- การทำความสะอาดสกรีน
2. การสร้างแม่พิมพ์สกรีน (Stencil) สามารถสร้างได้ 2 วิธี คือ
- สร้างแม่พิมพ์โดยไม่ใช้แสง (Non- Exposure)
- สร้างแม่พิมพ์โดยวิธีถ่ายด้วยแสง (Exposure)
3. การพิมพ์สกรีน (Printing) แบ่งตามลักษณะการพิมพ์สกรีนได้ 3 แบบ คือ
- การพิมพ์แบบสีเดียวหรือหลายสี (Single / Multi Colour ) พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์สีทึบ ซึ่งสีแต่ละสีเกิดจากการพิมพ์สีละ 1 ครั้ง โดยการพิมพ์ลายภาพที่เป็นแบบสีเดียวหรือหลายๆ สีก็ได้
- การพิมพ์แบบหมึกชุดสอดสี ( Process Colour ) พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ชุดสอดสี ใช้หมึกกึ่งโปร่งแสง ประกอบด้วย สีเหลือง สีบานเย็น สีคราม และสีดำ การพิมพ์ด้วยหมึกประเภทนี้ จะเป็นการพิมพ์โดยใช้เม็คสกรีนพิมพ์ซ้อนหรือเหลื่อมกันเพื่อให้เกิดการผสมผลานกันระหว่างหมึกพิมพ์ได้สีต่าง ๆ ออกมามากมายตามต้นฉบับ
- การพิมพ์ด้วยเทคนิคพิเศษ ( Special Effect ) เป็นการพิมพ์ลงบนชิ้นงานบางชนิดที่ไม่สามารถพิมพ์ด้วยระบบทั่วๆ ไป เช่น การพิมพ์วัสดุรูปทรงศรี วัสดุผิวโค้ง และวัสดุผิวขรุขระ เป็นต้น

เอกสารประกอบชุดการฝึกทำสกรีน สำหรับผู้เริ่มต้น..
ปัจจุบันระบบการพิมพ์สรีนเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ และวงการศึกษามากขึ้น เช่น ใช้พิมพ์สินค้าให้สวยงามน่าใช้ ใช้พิมพ์ป้าย งานสื่อโฆษณา - ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เป็นต้น และนับว่าเป็นระบบการพิมพ์งาน์ที่ใช้ลงทุนน้อยโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ – เครื่องมือเครื่องใช้เพียงไม่กี่ชนิดก็สามารถพิมพ์ได้ และสามารถทำให้ท่านนำไปประกอบอาชีพได้โดยลงทุนไม่มากนักแต่ ทำเงินได้เกินพอเชียวล่ะ
เช่น..ลองพิมพ์เสื้อยืดไว้ขาย หรือ พิมพ์วัสดุต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้านั้นๆ
1.อุปกรณ์ การทำสกรีนเบื้องต้น (สำหรับผู้ฝึกทำใหม่)
1.กาวอัดสกรีน 1 ขวด
2.น้ำยาไวแสง 1 ขวด
3.บล็อกสกรีน 1 บล็อก
4.ยางปาดสี 1 อัน
5.กระจกใส  1  แผ่น
6.สีสกรีนผ้า  1  ขวด
7.ผงล้างบล็อกสกรีน 1  ขวด
8.เอกสารประกอบ"สอนการทำบล็อกสกรีน แบบปฏิบัติจริง"
2. การเตรียมสร้างแบบสกรีน(ต้นฉบับสำหรับพิมพ์เสื้อ)
1. นำกระดาษขาว เอ 4 ธรรมดา วางลงบนโต๊ะ
2. วาดแบบอะไรก็ได้ตามต้องการ แต่ต้องวาดด้วยหมึกสีดำ
หรือปากกาหมึกดำ และต้องวาดด้านเดียว หรือจะใช้อิงค์เจ็ทพิมพ์แบบสี
ดำลงบน กระดาษ เอ4 ก็ได้ (ต้องเน้นใช้หมึกดำนะครับ ห้ามใช้สีอื่น)
3. นำกระดาษขาวที่วาดแบบแล้ว วางลงบนกระจกใสที่ให้มา เอาสำลีจุ่ม
น้ำมันพืชที่หาได้ในครัว ถูทาให้ทั่วแผ่นกระดาษ (เพื่อให้กระดาษนั้นใส
ขึ้น แต่ต้นแบบของเราต้องไม่ซึมนะครับ)

3.การเริ่มต้นทำบล็อกสกรีน(เบื้องต้น)
1. เทกาวอัดลงในภาชนะ ประมาณ 5 ช้อน
2. เทน้ำยาไวแสง 1 ช้อน
3. ผสมกาวอัดและน้ำยาไวแสงเข้าด้วยกัน คนให้เข้ากัน(จะออกสีน้ำตาลๆ)
4. นำกาวอัดที่ผสมเสร็จแล้ว เทลงหลังบล็อกสกรีนให้ปริมาณพอควร
5. เอายางปาดสกรีนที่เช็ดแห้งแล้ว ปาดกาวอัด ขึ้นและลงให้ทั่วๆบล็อกสกรีน
และพยายามให้กาวอัด ราบเรียบ อย่าให้กาวดูแล้วหนานะครับ
6. เศษกาวอัดที่ด้านข้างๆของบล็อกสกรีน หาเศษผ้ามาเช็ดทิ้งไป อย่าให้เยิ้มเป็น
ก้อน อาจจะมีปัญหาเวลาเป่าบล็อกแล้วมันไม่ค่อยจะแห้ง
7. จากนั้น ก็นำเอาไดร์เป่าผม มาเป่าบล็อกสกรีนดังกล่าวให้แห้ง (ขณะที่เป่าควรทำในที่มืดๆ พยายามอย่าให้โดนแสงสว่าง และห่างประมาณ 1 ฟุต) วิธีสังเกตว่าบล็อกแห้ง หรือยังนั้น ควรดูว่า กาวที่ฉาบลงไปนั้น มีสีที่ใสขึ้นแล้วหรือยัง (สีสันมันจะดูใสๆแบบลูกโป่งที่เราเป่าให้พองโต)
8. เมื่อเป่าบล็อกสกรีนด้วยลมร้อนจนแห้งดีแล้ว..
จงจำไว้ว่า กาวอัดบนบล็อกสกรีนที่แห้งแล้วนั้น เปรียบเสมือน ฟิลม์ถ่ายรูปดีๆนี่เอง..ดังนั้นจึงต้องระวังอย่าให้ถูกแสงที่สว่างจ้าขณะที่เก็บบล็อกไว้ เพื่อการเตรียมอัดบล็อกสกรีนต่อไป

4. การอัดบล็อกสกรีน เพื่อสร้างแม่แบบ บล็อกสกรีน
1. นำกระจกใสที่เราเอาแบบวาดหรือแผ่นกระดาษ ซึ่งชุบทาถูน้ำมันพืชไว้
เรียบร้อยแล้วนั้น มาวางทาบกับด้านหลังของบล็อกสกรีนตามลำดับ(ดังรูป)
  •   กระจก
  • กระดาษต้นฉบับ
  • บล็อกสกรีน
  • กระดาษดำ(ใช้กระดาษคาร์บอนก็ได้)
  • หนังสือหนาๆ
                 
2. ด้านหน้าของบล็อกสกรีนนั้น เอากระดาษดำ(ใช้กระดาษก็อปปี้ก็ได้ครับ) หรือผ้าดำ วางทับไว้
3. ใช้มือจับนำอุปกรณ์ทั้งหมด(ดังในภาพ)หงายขึ้น แล้วส่องให้ถูกกับแสงแดด โดยใช้เวลาประมาณ 10 วินาที (กรณีแดดจ้า)
4. หลังจากนั้น ก็นำบล็อกสกรีนที่ผ่านการฉายแสงแล้ว มาล้างด้วยน้ำเปล่าธรรมดา หรือฉีดด้วยสายยางน้ำประปา เพื่อให้ภาพที่ถ่ายไว้ในบล็อกสกรีนปรากฏขึ้น
5. จากนั้นก็นำบล็อกสกรีนนี้ไปตากแดด หรือ เป่าด้วยลมร้อนจากไดเป่าให้แห้งสนิท
6. นำเทปกาวย่นธรรมดาที่มีขายทั่วไป ปะติดขอบบล็อกด้านนอก(ด้านหลัง)ทั้ง 4 ด้าน เป็นอันว่า เสร็จแล้วครับ.. คุณจะได้บล็อกสกรีนที่พร้อมใช้งานแล้วครับ.

5. ขั้นตอนการพิมพ์ผ้า..หรือเสื้อยืด
1. นำเสื้อ หรือ วัสดุที่เป็นประเภทผ้า มาวางไว้บนพื้นโต๊ะที่ราบเรียบ ถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้ไม้อัด หรือ แผ่น ฟิวเจอร์บอร์ด (แผ่นพาสติกลูกฟูก) ตัดให้เล็กกว่าตัวเสื้อเล็กน้อย สอดในตัวเสื้อ แล้วเอามือลูบให้ราบเรียบ(ถ้าไม่เรียบให้ซื้อกาวยึดผ้ามาทาก่อน แล้วผ้าจะเรียบไม่ย่น การพิมพ์ก็จะง่ายขึ้นครับ)
2. นำบล็อกสกรีนที่เตรียมไว้ มาวางบนเสื้อที่ต้องการจะพิมพ์
3.เทสีสกรีนที่เตรียมไว้ ลงบนบล็อกสกรีน
4.ใช้ยางปาด ปาดสีผ่านบล็อกสกรีน ไปมา 2-3 ครั้ง แล้วยกบล็อก ขึ้น ถ้าจะพิมพ์หลายๆตัว ก็ ยกบล็อกไปพิมพ์ตัวต่อไป ด้วยวิธีเดียวกัน จนหมดชิ้นงานที่จะพิมพ์

6. ขั้นตอนการล้างบล็อก
1. จำไว้นะครับ พิมพ์เสื้อเสร็จแล้ว ต้องล้างบล็อกทันที (เน้น..นะครับ ต้องล้างบล็อกทันทีที่พิมพ์เสร็จ.)
2. นำบล็อกสกรีนที่ ใช้แล้ว ปาดสีออกให้หมด
3. จากนั้นก็ล้างด้วยน้ำเปล่าธรรมดา โดยเอาน้ำราดบล็อกทั้งสองด้าน แล้วเช็ดด้วยผ้าแห้งให้สะอาด เพื่อการใช้งานใช้ครั้งต่อไป.

ข้อมูลจาก หรือดูรายละเอียด.. http://www.champ999.com/

1 comment:

  1. VTD screen shop เราจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับงานซิลค์สกรีนคุณภาพเยี่ยม เช่น กาวอัด,น้ำยาเคลือบบล็อค,สียาง,สีลอย,ตู้ถ่ายบล็อค,และยังรับออกแบบลายพิมพ์ จากประสบการณ์ด้านงานซิลค์สกรีนมากว่า30ปี แถมยัง ราคถูกกว่าที่อื่น สนใจติดต่อได้ที่
    - 0870485199
    vtd_shop@hotmail.com
    http://vtdscreenshop.blogspot.com/

    ReplyDelete