Saturday, July 30, 2011

กลวิธีพิชิตงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า

                 โดย รุ่งทิพย์ อมรวชิรวงศ์  อาจารย์พิเศษและวิทยากร
                                                                                      คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

              สิ่งที่ทำให้การทำงานทุกอย่างบรรลุเป้าหมายได้ง่ายหรือยากนั้นขึ้นอยู่กับว่า การทำงานนั้นจะพบปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ มากน้อยเพียงใด งานอย่างเดียวกันคนแต่ละคนทำออกมาได้ไม่เหมือนกัน บางคนสามารถทำงานขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วถูกต้องเรียบร้อยเนื่องจากไม่พบกับอุปสรรคในการทำงานมากนัก แต่บางคนทำงานเสร็จได้ช้าแถมอาจมีข้อผิดพลาดให้ต้องแก้ไขภายหลังอยู่เรื่อย ในเรื่องการประกอบธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรม เรื่องช้าแต่แน่นอน ก็ถือว่าเป็นอุปสรรคของการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมอย่างมาก ช้าแต่แน่นอนน่าจะใช้กับงานด้านเกษตรกรรมยุคก่อนมากกว่า ปัจจุบันใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้ว การพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าถือว่าเป็นงานด้านอุตสาหกรรมอย่างหนึ่งถึงแม้ว่าจะทำกันในครอบครัว (Screen in House) ซึ่งก็ต้องอาศัยความรวดเร็ว
               ขั้นตอนลงมือปฏิบัติการเกี่ยวกับการพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า  เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์การพิมพ์สกรีนตั้งแต่ต้นเช่นเดียวกับการพิมพ์สกรีนประเภทอื่น ๆ  แต่อาจจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมแตกต่างจากการพิมพ์สกรีนประเภทอื่น ๆ อยู่ที่พิมพ์สกรีนเสื้อผ้ามีประเภทของสีที่หลากหลายมากมาย   และมีผ้าที่เป็นวัสดุ ( Substrates)  ที่ใช้ในการนำมาพิมพ์สกรีนที่มีความแตกต่างจากวัสดุอื่น ๆ คือ  ผ้ามีพื้นผิวไม่เรียบเนียน  มีขนผ้าหรือปมให้สัมผัสได้  ทอมาหนาบ้าง  บางบ้าง  การทอมีทั้งแบบเรียบ  และทอให้มีลวดลายต่าง ๆ ผ้ามีช่องว่างให้สีไหลผ่านได้  และก็ต้องให้สัมผัสนุ่มเวลาสวมใส่  ทนต่อแรงบิดจากการเสียดสีของการซักล้าง   แต่ก็ยังมีข้อกำหนดของการพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าที่ยึดถือกันทั่วไปว่า  สีที่พิมพ์สกรีนลงไปจะต้องฉาบอยู่เพียงผิวผ้าเท่านั้น  ไม่นิยมให้สีซึมทะลุมาก ๆ ซึ่งจะทำให้ไม่ก่อเกิดการพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าที่ดี  เนื่องจากการสิ้นเปลืองสีโดยใช่เหตุ  และทำให้งานพิมพ์สกรีนแข็งให้สัมผัสที่ไม่นุ่มเวลาสวมใส่  นอกจากผ้าจะมีลักษณะ ที่แตกต่างจากวัสดุทั่วไปแล้ว  เส้นใยที่ใช้ในการทอผ้า ก็ไม่มีเอกลักษณ์ที่แน่นอนอย่างใด  อย่างหนึ่ง  บางทีก็ทอมาจากเส้นใยธรรมชาติ ที่เรียกว่าผ้าคอตต้อน บางทีก็ทอมาจากเส้นใยสังเคราะห์ (Systhetic Fiber)  ที่เรียกว่าผ้าไนลอนหรือผ้าโพลีเอสเตอร์  บางทีก็มีการผสมผสานระหว่างเส้นใยทั้งสองประเภทในสัดส่วนที่แตกต่างกันที่เรียกว่า  ผ้า TC หรือ CVC ผ้าที่ทอเสร็จแล้วก็ต้องย้อมสีผ้า  สีที่ใช้ย้อมผ้ามีมากมาย  สีย้อมผ้าบางชนิดก็สร้างปัญหาเวลาพิมพ์สกรีนเหมือนกัน  และผ้าบางชนิดก็จะมีการเคลือบสารต่าง ๆ มาอีกด้วย  ทำให้พิมพ์สกรีนติดยาก การพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า ค่อนข้างมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย  การที่จะนำเอาประเภทของสีที่มีอยู่มากมาย ทั้งคู่มาประกอบกัน ให้เกิดงานพิมพ์สกรีนที่ลงตัว ออกสู่มือผู้บริโภคอย่างมีคุณภาพ  ไม่ต้องตามแก้ไขหลังจาก  ที่ทำงานเสร็จแล้วนั้น  เป็นเรื่องที่ทำกันได้ ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้อง  ชัดเจน  และมีประสบการณ์นั่นเอง
                 ปัจจัยที่จะทำให้เกิดงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าขึ้นมาได้มีองค์ประกอบอยู่กับหลายสิ่ง   มิได้ขึ้นอยู่กับอะไรเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังนี้
 บุคลากร  ( Persons)              บุคลากรที่มามีส่วนร่วมในการพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า  หมายความถึง เจ้าของกิจการ  พนักงานขาย  ที่ต้องออกไปรับงาน  และผู้ที่เข้าไปอยู่ในส่วนของการผลิต  เช่น  ช่างออกแบบ ช่างบล็อก และช่างพิมพ์ เป็นต้น  เจ้าของกิจการก็คือ  ผู้ต้องรับผิดชอบทุกสิ่งที่เกิดขึ้น  ดังนั้นเจ้าของกิจการ  โรงพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า  ควรที่จะมีความรู้  เกี่ยวกับงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าอย่างยิ่ง    ไม่ใช่เป็นผู้ลงทุนเพียงอย่างเดียว  เพราะการประกอบกิจการพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า ไม่เหมือนการประกอบกิจการ ประเภทซื้อมาขายไป  การประกอบกิจการอุตสาหกรรม  ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เป็นเรื่องที่ยากตั้งแต่แรก  คือ  หากเมื่อใดเกิดการทำงานผิดพลาด งานออกมาล่าช้า  ไม่ตรงตามที่ลูกค้ากำหนดมา  บทบาทของการเป็นผู้นำที่สำคัญที่สุดทำให้ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้  จะโทษใครที่มีส่วนร่วมในการสร้างงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าก็ไม่ได้  ไม่ว่าจะเป็นช่างพิมพ์สกรีน   ช่างผสมสี  หรือสีที่ซื้อมาใช้ เพราะนิสัยขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนเข้าข้างตัวเอง  คือหาคนผิดไม่ได้   ถึงแม้ว่าจะพยายาม  ควานหาผู้ทำผิดตัวจริง  เรื่องจะหามาได้หรือไม่ได้  ยังตอบไม่ได้ แต่ที่รู้แน่ต้องเสียเวลา  ค่าใช้จ่าย  ในการสืบเสาะตรงนี้  ทำให้ขาดทุนลงไปอีก  หากข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับช่างมือหนึ่ง  จำเป็นต้องให้ออกจากงาน  เนื่องจากการตกลงหาข้อยุติที่รับได้ทั้งสองฝ่ายไม่ได้  งานโดยรวมที่ช่างคนนี้จะทำให้เจ้าของกิจการต่อไปเป็นอันว่าเสียกันหมด เป็นต้น   หากเรื่องราวเลยเถิดถึงขั้นเรียกร้องค่าเสียหาย  ก็จะเป็นเรื่องที่พอกพูนความขาดทุนและการเสียเวลาที่จะใช้ในการเดินหน้าเข้าไปอีก  ไม่ว่าเรื่องจะออกมาดีหรือร้ายก็ตาม  เรื่องเช่นนี้เป็นเรื่องที่ป้องกันกันได้อย่าคิดที่จะแก้ไขเลย เพราะการป้องกันทำได้ง่ายกว่าการแก้ไข  ค่าใช้จ่ายสำหรับการป้องกันก็เสียน้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการแก้ไขมากมายอีกด้วยสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ในเรื่องพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า ก็คือ  จะเป็นข้อดีที่ทำให้สามารถกลั่นกรองข้อมูล ที่ได้รับจากผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้เสนอขายสินค้า  หรือ ลูกค้าได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ซึ่งก็เปรียบเหมือนกับเป็นปราการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้  ผลดีจากการรอบคอบไม่หลงลืมปกป้องปัญหา  ทำให้สามารถผลิตงานสู่ตลาดได้เร็วขึ้น  และได้งานคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ  ไม่ต้องตามแก้ไขปัญหาหลังจากส่งงานไปแล้ว  ซึ่งจะก่อเกิดความไม่แน่ใจของลูกค้าว่าคราวต่อไปจะส่งให้เราอีกหรือไม่
              สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ออกไปรับงานมาพิมพ์สกรีนที่โรงงาน  ก็เป็นจุดที่สำคัญเช่นกัน  ผู้รับงานควรจะเข้าใจ เรื่องของการพิมพ์สกรีนอย่างดี  และต้องเข้าใจถึงความสามารถและศักยภาพในการรองรับงานที่จะทำได้ดีพอด้วยว่า  งานที่จะรับเป็นงานที่ถนัดหรือไม่  มีความเข้าใจกับงานที่จะทำเพียงใด  กำลังคนที่จะผลิตมีเพียงพอไหม  เพราะเรื่องเหล่าจะทำไห้พบกับปัญหาในการพิมพ์สกรีนมากมาย  ทำให้งานเสร็จได้ไม่ทันกำหนดเวลาที่นัดหมายไว้  ความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาเหล่านี้เข้ามาเรื่อย ๆ สุดท้ายก็คือต้องคืนงาน  หรือส่งงานชนิดที่ต้องคอยตามแก้ไขปัญหา  หากแก้ไขปัญหาได้ก็เป็นเรื่องที่ต้องสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายหรือแรงงานเพิ่ม  และถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ก็จะยิ่งเลวร้ายมากยิ่งขึ้น
              เมื่อเข้ามาในส่วนการผลิตการพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า   ช่างทำฟิล์ม  ช่างบล็อกสกรีน  และช่างพิมพ์  ก็ต้องมีความสันทัดในการงานของตน  มาถึงตรงนี้อาจจะทำให้เข้าใจกันว่าจะมีหน่วยงานไหนในโลกที่มีคนเก่งทุกคนเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องจัดสรรคนในแต่ละแผนกให้ลงตัว   คือ  ผู้ที่มีความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ก็ควรให้อยู่ในจุดหัวหน้างาน  ผู้ที่ยังไม่ชำนาญงานก็ต้องเรียนรู้จากหัวหน้างาน  สำหรับโรงพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าในครอบครัว หรือโรงพิมพ์ขนาดเล็กที่มีคนทำงานน้อย   ก็ต้องมีความรู้ในอาชีพ   คือ  ไม่แน่ใจอย่าเสี่ยงพิมพ์  ยกเว้นจะได้งานที่ไม่ต้องคุณภาพอะไรเลย  อย่าเห็นว่าเวลาเหลือน้อย  ถ้าเสียเวลาทดลองจะไม่ทันส่งงาน  พิมพ์เลยดีกว่าเผื่อฟลุ๊กคงไม่มีปัญหาอะไรหรอก  สีที่ใช้พิมพ์สกรีนมาก็ซื้อมานานแล้ว  แต่ผ้าที่นำมาพิมพ์สกรีนอาจไม่เหมือนเดิม   สีที่มีอยู่เหมาะสมกับผ้าที่จะพิมพ์สกรีนหรือไม่  ไม่อาจทราบได้อีกทั้งผ้าที่ใช้พิมพ์สกรีนก็มีมากมายหลายชนิดหลายประเภท ถ้าเสียเวลาเทสท์สักหน่อย ก็จะทราบกันทันทีเลยว่าปัญหาจะเกิดขึ้นหรือไม่  งานจะเสร็จได้รวดเร็วกว่าการจะต้องมาแก้ไขกันภายหลังแน่นอน

อุปกรณ์และเครื่องมือ  ( Equipments)
                 อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า หมายถึง  บล็อกสกรีน แปรงปาดสี เป็นต้น  ซึ่งต้องจัดสรรให้เหมาะสมและถูกต้องกับการพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า  เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในงานพิมพ์สกรีนทั่วไปมีอยู่อย่างมากมาย    การทำงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าเหมือนกับการพิมพ์สกรีนเฉพาะทางไม่ใช่งานสกรีนทั่วไป  ตัวอย่างเช่น   การเลือกผ้าสกรีนที่ใช้พิมพ์สกรีนเสื้อผ้าก็เห็นว่าจะเป็นผ้าสกรีนที่ทอมาจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์มากกว่าที่จะทอมาจากเส้นใยไนลอน   เพราะผ้าสกรีนโพลีเอสเตอร์เป็นผ้าที่ไม่ยืดง่ายเหมาะสำหรับการพิมพ์สกรีนบนวัสดุที่มีพื้นผิวเรียบแต่ผ้าสกรีนไนลอนเหมาะสำหรับการพิมพ์สกรีนวัสดุผิวโค้ง   เนื่องจากการพิมพ์สกรีนผิวโค้งต้องการการยืดหยุ่นของผ้าสกรีนเวลาที่พิมพ์สกรีนงานอยู่   สำหรับโรงพิมพ์สกรีนที่ต้องทำบล็อกสกรีนขึ้นมาเองก็ต้องรู้วิธีการใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ในการสร้างบล็อกสกรีนให้เป็นด้วย เมื่อได้บล็อกสกรีนที่ดีคือแม่พิมพ์ที่ดี งานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าก็จะได้ดีในขั้นต้นอุปกรณ์ที่สำคัญลำดับต่อไปคือ แปรงปาดสี แปรงปาดสีอันเดียวไม่สามารถสร้างงานพิมพ์สกรีนที่ดีออกมาได้ทั้งหมด ควรเลือกหาแปรงปาดสีที่เหมาะกับการพิมพ์สกรีนสีนั้นๆ เท่านั้น เช่น ถ้าต้องการพิมพ์สกรีนสีสูตรน้ำก็ต้องใช้แปรงปาดสีที่มีความแข็ง 50-60 Shore A และก็ต้องทนทานต่อการแช่น้ำ และถ้าต้องการพิมพ์สกรีนสีสูตรพลาสติซอลหรือสูตรน้ำมันก็ต้องใช้แปรงปาดสีที่มีความแข็ง 70-80 Shore A และก็ต้องทนการกัดกร่อนของน้ำมันด้วย
              ไม่เพียงแต่โรงพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าจะเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสม และถูกต้องเท่านั้น   จะต้องรู้จักวิธีนำวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช้อย่างถูกวิธีอีกด้วย    ซึ่งจะเกิดการย่นย่อและลดต้นทุนการพิมพ์สกรีนได้   ตัวอย่างเช่น  หากต้องการพิมพ์สกรีนสีให้หนาหรือบาง   สามารถเลือกกำหนดความหนาหรือบางของสีได้จากจังหวะ การปาดสีนอกเหนือจากการเลือกใช้ผ้าสกรีนละเอียดหรือหยาบ    การวางแปรงปาดสี ให้ตั้งฉากกับพื้นผิวผ้าจะได้สีที่บางกว่าการพิมพ์สกรีนโดยให้แปรงปาดสีเอียง  45 o กับพื้นผิวผ้าและการปาดสีให้เร็วก็จะได้สีที่บางกว่าการปาดสีช้าเป็นต้น  เทคนิคการใช้อุปกรณ์ตามตัวอย่างที่กล่าวมา  จะเห็นว่าเป็นการปรับเปลี่ยนการทำงานเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำงานตามที่ต้องการได้   จากตัวอย่างจะเห็นว่า ไม่ต้องทำบล็อกสกรีนใหม่  ซึ่งจะต้องใช้เวลามากกว่าและสิ้นเปลือกต้นทุนการผลิตเข้าไปอีก

 โต๊ะพิมพ์สกรีนและเครื่องจักร ( Print Tables and Machines)
                 โต๊ะพิมพ์สกรีนและเครื่องพิมพ์สกรีนเป็นสิ่งแรกที่หลายท่านมองข้ามไปเรื่องของการบำรุงรักษาให้พร้อมกับการใช้งานตลอดเวลา   ตัวอย่างเช่น   ปัญหาที่โต๊ะพิมพ์สกรีนแบบเทเทียนเกิดเป็นหลุมเป็นบ่อเนื่องจากการใช้งานทำให้เวลาปาดสี แล้วสีจะไม่ลงอย่างสม่ำเสมอ  โต๊ะกาวสกปรก  กาวจับตัวเป็นเม็ด ทำให้ผ้าที่ปูลงไปเป็นตุ่ม ซึ่งจะทำให้สีที่พิมพ์สกรีนลงได้ไม่สม่ำเสมอ การป้องกันปัญหาตรงนี้คือ ต้องหมั่นปรับหน้าโต๊ะพิมพ์สกรีนแบบเทเทียนหรือไม่ก็หมั่นล้างโต๊ะกาวเสมอ
                 สำหรับโรงพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าที่มีการประกอบติดตั้งเครื่องอบสีแบบเคลื่อนที่(Flash Cure Units) บนโต๊ะพิมพ์สกรีนแบบแนวยาวก่อนติดตั้งเครื่องประเภทนี้บนโต๊ะพิมพ์ ควรศึกษาเครื่องประเภทนี้กับผู้จัดจำหน่ายและผู้มีความรู้เรื่องระบบความร้อนให้ชัดเจน วิเคราะห์หาข้อมูลที่เหมาะสมกับการใช้งานของโรงพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า ไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่ดีที่สุด ราคาแพงกว่าจะใช้งานได้ดีกับงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า เพราะการเลือกเครื่องทำความร้อนเพื่ออบสีผ้าให้แห้งหมาด ไม่ใช่แห้งสนิท เพื่อประโยชน์ในการพิมพ์สกรีนสีอื่นต่อไปนั้น หากเลือกซื้อมาอย่างไม่เหมาะสม จะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเงินในการบำรุงรักษาบ่อยครั้ง สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าโดยใช่เหตุตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องอบสีแบบเคลื่อนที่ ที่ใช้ระบบความร้อนอินฟาเรทมีพัดลมกับการใช้เครื่องอบสีแบบเคลื่อนที่ที่ใช้ฮีตเตอร์ไม่มีพัดลม เป็นที่ทราบกันดีว่าอินฟาเรทให้ความร้อนที่สุกจากเนื้อในอย่างทั่วถึงและชำรุดง่ายหากเคลื่อนที่เป็นประจำแตกต่างจากฮีตเตอร์ที่สุกจากผิวถึงเนื้อในและไม่มีผลเสียอะไรต่อการเคลื่อนที่ตลอดเวลา หากเลือกซื้อเครื่องที่ประกอบจากอินฟาเรทก็จะชำรุดง่าย ประมาณ 1 ปี ก็ต้องเปลี่ยนอินฟาเรทใหม่เสียค่าบำรุงรักษาทุกปี อีกทั้งราคาก็แพงกว่า แต่ถ้าเลือกซื้อเครื่องที่ประกอบมาจากฮีตเตอร์ ฮีตเตอร์จะมีอายุการใช้งานในลักษณะที่ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลาได้ถึง 3 ปี อย่างต่ำ ราคาก็ถูกกว่า สีพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าทั่วไปมีความหนาของสีเพียง 20 ไมครอนต่อชั้นเท่านั้นการใช้ฮีตเตอร์ก็น่าจะเพียงพอแล้ว หากมีการติดตั้งพัดลม   กันเครื่องอินฟาเรทด้วย ความสิ้นเปลืองก็จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังอินฟาเรทจะไม่พอ ความร้อนมีการกระจายตัวออกไปบริเวณที่เครื่องลอยตัวอยู่บนโต๊ะพิมพ์ หากเครื่องใช้กำลัง 4,000 วัตต์ ก็ต้องเพิ่มเป็น 6,000 วัตต์ ถึงจะได้ความร้อนเท่าเดิม จากตัวอย่างเห็นว่า การเลือกเครื่องจักรที่เหมาะสมกับงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า จะทำให้เราได้ประโยชน์ในการพิมพ์สกรีนสูงสุด ลดปัญหาและลดต้นทุนได้

สีหรือหมึก (Colors or Inks)
                จะต้องเลือกสีที่เหมาะสมและถูกต้องตามที่ลูกค้ากำหนด มีความจริงอยู่ที่ว่าสินค้าทุกชนิดมีขีดจำกัดการใช้งานไม่ว่าจะเป็นสินค้าราคาถูกหรือราคาแพงก็ตาม สีที่เราใช้ในการพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าก็เช่นเดียวกัน การจะร้องขอคำรับรองจากผู้จัดจำหน่าย ก็จะได้คำรับรองที่มีขีดจำกัดเท่านั้น ไม่มีผู้ใดสามารถให้การรับรอง แบบไร้ขอบเขตได้ หากพบว่าผู้ใดสามารถให้การรับรองอย่างไม่มีขอบเขต นั่นไม่ใช่การรับรองแต่เป็นการหลอกลวงเพราะเมื่อมีปัญหาขึ้นมาจริงๆ ก็จะไม่สามารถรับผิดชอบอะไรได้เลย หากจะต้องมีการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ที่ให้การรับรองสินค้าก็คงต้องเป็นเรื่องเป็นราวยาวเหยียดบางทีถึงขั้นโรงขั้นศาล เสียค่าใช่จ่าย บาดเจ็บทั้งคู่ เสียเวลาเดินหน้าต่อไป หากจะไปเรียกร้องค่าเสียหายจากสินค้าที่ไม่มีการรับประกันสินค้าก็จะเป็นเรื่องที่ตีฆ้องร้องเป่าถึงความบกพร่องของตัวเอง บาดเจ็บเพียงคนเดียว เหตุที่สีพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าไม่สามารถให้การรับรองได้เนื่องจากสีเป็นสิ่งที่จะต้องนำไปใช้งานกับส่วนอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น บล็อกสกรีน แปรงปาดสี ผู้พิมพ์สกรีน ประเภทของผ้าที่ใช้พิมพ์ น้ำยาแต่งเติมต่างๆ หรือแม้นแต่อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปภายในรอบวันหรือรอบปี เป็นต้น ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการผันแปรทำให้สีพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าไม่คงที่มีมากกว่าหลายประเภทจริงๆ อีกทั้งการใช้งานจริง ก็ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว หมายถึงแป้งพิมพ์ที่นำไปผสมสีน้ำปิกเม้นท์จะใช้ผสมมากหรือน้อยผู้ใช้ก็ต้องเปลี่ยนไปมาตามงานที่ต้องการของตนเอง  แป้งพิมพ์ที่ใช้ก็มาจากหลายแหล่งซึ่งก็ไม่คงที่เช่นกัน ขั้นตอนการผสมสี หรือขั้นตอนการพิมพ์สกรีนก็ไม่สามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนพร้อมกันทั้งสองฝ่าย เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผู้ใช้นำไปใช้เองเป็นการส่วนตัว ถึงแม้จะนำชิ้นงานที่พิมพ์สกรีนเสร็จแล้วมาชี้แจงก็เป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้วปัจจัยที่ใช้ในการพิมพ์สกรีน จึงขึ้นอยู่ที่ผู้ใช้เพียงฝ่ายเดียวจะเห็นกันว่าสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมจะเป็นสินค้าที่ถูกจัดจำหน่ายแบบไม่มีการรับประกันสินค้าตามที่กล่าวมาแล้ว แต่ถ้าเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการอุปโภคและบริโภคจะมีการรับประกันสินค้าบ้าง เนื่องจากสินค้าเหล่านี้เป็นสิ่งที่นำไปใช้งานได้เลย เช่น ซื้อพัดลมมา เวลาใช้ก็คือทำเพียง “เสียบปลั๊ก” ถ้าไม่หมุนทางร้านก็จะเปลี่ยนหรือซ่อมให้เลยตามข้อตกลงของการประกันสินค้าหรือถ้าเป็นสินค้าบริโภคถ้านำมารับประทานแล้วเกิดอาการแพ้ เรื่องนี้ก็ฟ้องร้องได้เลย เนื่องจากมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น เป็นเรื่องมองดูว่าไม่สมดุลกันระหว่างผู้จัดจำหน่าย สีกับโรงพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า ทั้งที่ต้องทำงานต่อเนื่องกัน เพราะผลิตภัณฑ์ของผู้จัดจำหน่ายสีเป็นผลิตภัณฑ์เพื่องานอุตสาหกรรม  แต่ผลิตภัณฑ์ของโรงพิมพ์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการอุปโภค ซึ่งก็มีกฎหมายคุ้มครองไว้เช่นเดียวกับสินค้าบริโภค
               เมื่อเรื่องราวมีความจริงเป็นไปตามที่กล่าวมา ผู้มีหน้าที่ใช้สีพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าจำเป็นต้องเลือกเฟ้นสีพิมพ์สกรีนที่มีความเหมาะสมจริงๆ ซึ่งต้องเหมาะสมกับงานที่ได้รับมาและเหมาะสมกับต้นทุนการผลิต การที่สามารถเลือกเฟ้นสีที่เหมาะสมก็ถือว่าเป็นการป้องกันปัญหาที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้ประกอบการโรงพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า การคัดเลือกเสื้อผ้า มิใช่การคัดเลือกแบบการซื้อผลไม้ ที่ใช้สายตามองเพียงภายนอกก็ซื้อหาได้แล้วจำเป็นจะต้องทำการเทสต์สีที่ดีก็ต้องเทสต์แบบมีตัวเปรียบเทียบที่คงที่ทั้งหมดยกเว้น แต่เพียงสิ่งที่เราต้องการเลือกเฟ้นเท่านั้น ผลจากการทำเช่นนี้จะได้ความจริงที่เป็นตรรกะซึ่งส่งผลที่ดีและคุ้มค่าจริงๆ ตัวอย่างเช่น หากต้องการซื้อสียางขาวเพื่อพิมพ์สกรีนบนผ้าค้อตต้อนยืด 100% สิ่งที่ต้องการเลือก คือ สียางขาวจากผู้จัดจำหน่ายต่างๆ จะเป็นสองแห่งหรือมากกว่าสองก็ได้ เราจะเรียกสีที่จะเลือกซื้อนี้ว่าปัจจัยผันแปร ส่วนสิ่งที่นำมาประกอบสำหรับงานเทสต์ เช่น ผ้าค้อตต้อน 100% บล็อกสกรีน แปรงปาดสี และผู้ปาดสี จะต้องเป็นสิ่งเดียวกัน เราเรียก สิ่งเหล่านี้ว่า ปัจจัยคงที่ นำสียางขาวที่ต้องการเทสต์แต่ละตัวเรียงเทลงบนบล็อกสกรีนเดียวกัน แปรงปาดสีเดียวกันปาดสีลงสองรอบ เมื่อพิมพ์สกรีนเสร็จเรียบร้อยแล้วอบสีให้แห้งสนิททันที วิธีนี้จะได้เห็นข้อแตกต่างที่อยู่บนผ้าผืนเดียวกัน สีไหลผ่านบล็อกสกรีนเดียวกันน้ำหนัก และจังหวะการปาดสีก็เท่านั้น ซึ่งจะได้ผลเทสต์ที่ถูกต้องที่สุดว่าสียางไหนที่มีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่ากันกลบสีของผ้าดีกว่า ให้ความขาวที่มากกว่า และให้ความยืดหยุ่นที่มากกว่า และเมื่อทำการเทสต์ซักบนผ้าที่พิมพ์สกรีนผืนเดียวกันก็จะได้ผลเทสต์ที่ชัดเจนและถูกต้องจริงอย่าทำการเทสต์สีชนิดใหม่โดยคิดสรุปเปรียบเทียบกับงานที่เคยพิมพ์สกรีนมา เพราะสินค้าที่ถูกนำมาจัดจำหน่ายของทุกแห่งที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกัน โอกาสของการหาข้อสรุปที่แท้จริงในการเลือกสีที่ดีที่สุดในงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า อาจคลาดเคลื่อนได้ง่าย

การตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า (Quality Control)
   
              การตรวจสอบงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าถือว่าเป็นการกลั่นกรองงานให้สมบูรณ์ที่สุดก่อนถึงมือลูกค้า ขั้นตอนตรงนี้จะง่ายขึ้นมากและจบลงอย่างรวดเร็ว หากการทำงานตั้งแต่ต้น มีปัญหาน้อย หรือไม่มีเลย หลังจากที่ตรวจสอบคุณภาพการพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้วไม่ได้หมายความว่าการตรวจสอบทุกอย่างจะยุติลง ยังมีการตรวจทานอีกครั้งหนึ่ง หรือหลายๆ ครั้งจากลูกค้าผู้จ่ายงานพิมพ์สกรีน ซึ่งการตรวจสอบก็จะอยู่ที่ลายพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ สีที่ใช้ถูกต้องหรือไม่ ตำแหน่งที่พิมพ์ถูกต้องหรือไม่ มาถึงตรงนี้บางที่เกิดปัญหาไม่สิ้นสุดว่า การเทสต์ซักไม่ผ่าน ทั้งที่มีการส่งผลเทสต์แล้วผ่าน แต่พองานจริงสีกลับหลุด ผู้ประกอบการการพิมพ์เสื้อผ้าก็เป็นผู้ที่รับปัญหานี้เป็นคนแรกอย่างเช่นเคย ทั้งที่ยังไม่ทราบว่าปัญหานี้เกิดข้อผิดพลาดตรงไหน บางทีอาจจะเกิดจากข้อตกลงของการรับงานในเรื่องการเทสต์ซักก็ได้ ซึ่งไม่มีการตกลงกันไว้ให้ดีก่อน หรืออาจมีเหตุอยู่ว่าผลเทสต์จากงานพิมพ์สกรีนตัวอย่างกับผลเทสต์จากการสุ่มงานพิมพ์สกรีนจริงไม่มีความมั่นคง ตัวอย่างเช่น การเทสต์ซักในขั้นตอนพิมพ์สกรีนตัวอย่างไม่ได้กำหนดรอบแรงปั่นของเครื่องซักผ้าไว้ แต่บังเอิญผลเทสต์จากการสุ่มตัวอย่างงานพิมพ์มีการกำหนดแรงปั่นที่สูงกว่า ซึ่งก็อาจจะทำให้ได้ผลเทสต์ที่บิดเบียนได้ง่าย เพราะฉะนั้นผู้ทำหน้าที่รับงานก็ต้องชี้แจงเรื่องการเทสต์ของงานพิมพ์สกรีนตัวอย่างกับงานพิมพ์จริงให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องซักผ้าที่ต้องเป็นเครื่องเดียวกันผงซักฟอกที่ใช้ในการเทสต์ซักก็ต้องเป็นแบบเดียวกันแรงปั่นและเวลาก็ต้องเท่ากัน
                 ตามที่กล่าวมาปัญหาจะเกิดขึ้นน้อยหรือไม่เกิดเลย หากผู้ประกอบการโรงพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกแผนกให้ความสนใจเรียนรู้ในวิชาชีพให้รู้ลึก การทำงานนี้ก็จะสำเร็จลุล่วงได้ดี และเมื่อยิ่งหมั่นเรียนรู้ก็จะยิ่งมีประสบการณ์ทำให้มองเห็นภาพปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดจากงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าได้ล่วงหน้าได้งานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้าที่เรียบร้อยถูกต้องครบถ้วน เสร็จสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องตามตามแก้ไขกันอีกต่อไป  

ที่มาของบทความนี้
เรียงความจากความรู้ความคิดและประสบการณ์การทำงานจริง โดยไม่ได้คัดลอกจากผู้ใดทั้งสิ้น ของ หจก. เอส.เค. สีและเคมี  ตั้งแต่ปี 2535

เอกสารเผยแพร่
ของ เอส.เค. สกรีน เทรนนิ่ง เซนเตอร์  ศูนย์ฝึกอบรมการพิมพ์สกรีนสิ่งทอไทย  ในเครือ หจก. เอส.เค. สีและเคมี
โดย รุ่งทิพย์ อมรวชิรวงศ์   อาจารย์พิเศษและวิทยากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เผยแพร่ครั้งแรก
ในนิตยสารพิมพ์สกรีนไทย นิตยสารรายเดือนของสมาคมพิมพ์สกรีนแห่งประเทศไทย ฉบับวันที่ .............หน้าที่.........
ชื่อ  กลวิธีพิชิตงานพิมพ์สกรีนเสื้อผ้า 
 *ข้อมูลทั้งหมดที่ระบุไว้ในบทความข้างต้นนี้ รวมทั้งคำแนะนำต่าง ๆ ล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากความรู้และความเข้าใจในปัจจุบันของผู้เขียนทั้งสิ้น และถือได้ว่าความรู้ดังกล่าวมีความถูกต้องแม่นยำแล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนยังไม่สามารถให้การรับประกันความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลและคำแนะนำดังกล่าวได้ในทุก ๆ กรณี เนื่องจากผู้เขียนไม่อาจคาดคะเนได้ว่าผู้อ่านจะนำข้อมูลหรือคำแนะนำ ไปใช้เมื่อใด ทางด้านใดบ้าง และมีปัจจัยอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและผู้เขียนขอสงวนสิทธ์ในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูล และคำแนะนำข้างต้นตลอดเวลาด้วยโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า*
ขอบคุณ  ข้อมูลดีๆจาก
http://www.skcolorchem.co.th

ความรู้เบื้องต้นของผ้าสกรีน General Information of Screen Fabrics

  โดย รุ่งทิพย์ อมรวชิรวงศ์   อาจารย์พิเศษและวิทยากร 
                                                                                                                                      คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
   
            สิ่งสำคัญอันดับสองรองจากกรอบบล็อกสกรีนที่จะนำไปสู่การทำแม่พิมพ์สำหรับงานพิมพ์สกรีน คือ “ผ้าสกรีน”  ผ้าสกรีนที่ใช้ในการพิมพ์สกรีนทั่วไปมีอยู่หลายชนิด  เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องมารู้จักกับผ้าสกรีนเสียก่อน  เมื่อผู้ใช้มีความรู้ต่อเรื่องผ้าสกรีนดีแล้ว ก็จะสามารถเลือกผ้าสกรีนที่เหมาะสมกับงานพิมพ์สกรีนที่ต้องการทำ 

                                                                                 
ผ้าสกรีน (Screen Fabric) ที่ใช้ในงานพิมพ์สกรีนทั่วไป มี 2 ชนิด ดังนี้ 
            
           1. ผ้าสกรีนโพลีเอสเตอร์ (Polyester) เป็นผ้าสกรีนที่เหมาะสำหรับพิมพ์ผ้ามากที่สุด เพราะผ้าสกรีนชนิดนี้ทำขึ้นมาเพื่อพิมพ์บนวัสดุผิวเรียบ ที่ต้องใช้ความตึงสูง ผ้าสกรีนชนิดนี้จัดเป็นชนิดที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นผ้าที่ขึงง่าย ไม่ต้องออกแรงดึงสูง ก็สามารถได้ความตึงตามที่ต้องการ  การใช้แรงดึงเพื่อขึงผ้าสกรีนให้ตึงนี้  ไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีต่อบล็อกสกรีนเลย  เพราะจะทำให้รูผ้าสกรีนบิดเบี้ยวได้ ทำให้สีที่พิมพ์ลงไปไม่สม่ำเสมอ ผ้าสกรีนชนิดนี้จะมีอายุการใช้งานมากกว่าผ้าสกรีนชนิดอื่น เพราะเวลาที่ล้างบล็อกสกรีนหลาย ๆ ครั้ง ผ้าสกรีนจะไม่เกิดขลุยผ้าบนเส้นใยและแรงตึงของบล็อกสกรีนก็จะไม่สูญเสียไปด้วย
           2. ผ้าสกรีนไนลอน (Nylon) เป็นผ้าสกรีนที่ไม่ค่อยเหมาะกับการพิมพ์ผ้าเท่าไรนัก เนื่องจากว่าผ้าสกรีนชนิดนี้จะสามารถยืดหยุ่นได้ ซึ่งจะเหมาะสำหรับพิมพ์บนวัสดุผิวโค้งหรือวัสดุที่เป็นรูปทรงต่าง ๆ ผ้าสกรีนชนิดนี้เวลาที่ขึงแล้วไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน ๆ เพราะจะเกิดการหย่อนตัวลงและสูญเสียความตึงไปได้ นอกจากนี้ยังไม่คงทนต่อการถูกล้างกาวทิ้งเพื่อนำบล็อกกลับมาใช้ใหม่อีกด้วย เพราะจะเกิดขลุยบนเส้นใยและความตึงก็จะลดลงด้วย ผ้าสกรีนชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในระยะเวลาสั้น ๆ อีกทั้งราคาก็ค่อนข้างถูกกว่าผ้าสกรีนชนิดแรก
ชนิดของเส้นด้ายที่ใช้ทอผ้าสกรีน มีอยู่ 2 แบบ คือ
1. เส้นด้ายเดี่ยว (Monofilament)
          เส้นด้ายเดี่ยว เป็นเส้นด้ายที่มีลักษณะคล้ายกับเส้นเอ็น ไม่มีเส้นด้ายอื่นมารวมอยู่ด้วยในหนึ่งเส้นของเส้นด้ายเดี่ยว

2. เส้นด้ายเกลียว (Multifilament)
          เส้นด้ายเกลียว เป็นเส้นด้ายที่เกิดจากเส้นด้ายเล็กๆ หลายๆ เส้น มาปั่นเกลียวรวมกันเป็นเส้นด้ายหนึ่งเส้น
ลักษณะการทอผ้าสกรีน มีอยู่ 2 แบบ คือการทอผ้าสกรีนโดยทั่วไปสามารถที่จะใช้เส้นด้ายอย่างเดียวกันหรือเส้นด้ายคนละอย่างมาทอรวมกันก็ได้ ลักษณะการทอผ้า จึงเรียกตามเส้นด้ายที่ใช้ในการทอผ้า ดังนี้
การทอผ้าแบบ Mono-Mono Polyester   จะใช้เส้นใย Polyester ชนิดเส้นเดี่ยวกับเส้นด้ายเดี่ยว มาทอเป็นผ้าสกรีน
การทอผ้าแบบ Mono-Multi Polyester  จะใช้เส้นใย Polyester ชนิดเส้นด้ายเดี่ยวกับเส้นด้ายเกลียว มาทอเป็นผ้าสกรีน
การทอผ้าแบบ Multi-Multi Polyester  จะใช้เส้นใย Polyester ชนิดเส้นด้ายเกลียวกับเส้นด้ายเกลียว มาทอเป็นผ้าสกรีน
การทอผ้าแบบ Mono-Mono Nylon  จะใช้เส้นใย Nylon ชนิดเส้นด้ายเดี่ยวกับเส้นด้ายเดี่ยว มาทอเป็นผ้าสกรีน
การทอผ้าแบบ Mono-Multi Nylon  จะใช้เส้นใย Nylon ชนิดเส้นด้ายเดี่ยวกับเส้นด้ายเกลียว มาทอเป็นผ้าสกรีน
การทอผ้าแบบ Multi-Multi Nylon  จะใช้เส้นใย  Nylon ชนิดเส้นด้ายเกลียวกับเส้นด้ายเกลียว มาทอเป็นผ้าสกรีนการเรียกเบอร์ผ้าสกรีน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

         1. เรียกเป็น "นิ้ว (inch)" หมายถึง จำนวนเส้นด้ายที่ทอมีกี่เส้นต่อผ้าสกรีน 1 นิ้ว เช่น ผ้าสกรีน เบอร์ 120 จะมีเส้นด้าย 120 เส้น ต่อ 1 นิ้ว หรือผ้าสกรีนเบอร์ 100 ก็จะมีเส้นด้าย 100 เส้น ต่อ 1 นิ้ว การเรียกผ้าสกรีนเช่นนี้ นิยมเรียกกันในประเทศที่ผลิตผ้าสกรีนในแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สิงค์โปร์ เป็นต้น
         2. เรียกเป็น "เซนต์ (cent)" หมายถึง จำนวนเส้นด้ายที่ทอมีกี่เส้นต่อผ้าสกรีน 1 เซนติเมตร เช่น ผ้าสกรีนเบอร์ 120 จะมีเส้นด้าย 120 เส้น ต่อ 1 เซนติเมตร หรือ ผ้าสกรีนเบอร์ 100 ก็จะมีเส้นด้าย 100 เส้น ต่อ 1 เซนติเมตร การเรียกผ้าสกรีนชนิดนี้นิยมเรียกกันในประเทศที่ผลิตผ้าสกรีนในแถบยุโรป เช่น อเมริกา สวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น        ในการเทียบเบอร์ผ้าสกรีนทั้งสองแบบ ให้ใช้อัตราส่วน 1 นิ้ว เท่ากับ 2.54 เซนติเมตร เช่น เบอร์ 120 ยุโรปก็จะเท่ากับเบอร์ 305 เอเชีย (120x2.54 = 304.8) หรือ เบอร์ 255 เอเชีย ก็จะเท่ากับ เบอร์ 100 ของยุโรป (255 หาร 2.54 = 100)

        บางครั้งจะเห็นว่าเบอร์ผ้าสกรีนมีอักษรภาษาอังกฤษตามหลังมาด้วย เช่น 120T ตัวอักษรที่ต่อท้ายจะบอกขนาดของเส้นด้ายหรือความหนาของผ้าสกรีน ดังนี้
        S = Small, M = Medium, T = Thick, HD = Heavy Duty
        ดังนั้น 120T จึงหมายถึง ผ้าเบอร์ 120 ที่ทอจากเส้นด้ายอย่างหนาหรือมีเนื้อผ้าหนา แต่ในเรื่องค่าความหนาของเส้นด้ายของแต่ละประเทศหรือแต่ละบริษัทจะมีมาตรฐานการกำหนดไม่เหมือนกัน ดังนั้นการกำหนดความหนาของเนื้อผ้าจึงเป็นสิ่งที่จะใช้เปรียบเทียบกันเฉพาะภายในของผู้ผลิตเท่านั้น
การเลือกเบอร์ผ้าสกรีนสำหรับการพิมพ์ผ้า
         
การเลือกผ้าสกรีนที่เหมาะสำหรับการพิมพ์ผ้านั้น สิ่งหนึ่งที่ควรทราบคือความหนืดหรือความข้นเหลวของสีที่พิมพ์ลงไป ความข้นเหลวของสีพิมพ์ผ้าแต่ละชนิดมีไม่เท่ากัน เช่น แป้งจมจะมีค่าความข้นเหลวน้อยที่สุด จึงสามารถใช้ผ้าสกรีนเบอร์ละเอียด ๆ ได้ สียางมีความข้นที่มากกว่า จึงต้องใช้ผ้าสกรีนที่มีเนื้อหยาบกว่า และอีกปัจจัยต่อมาคือ ความหนาของเนื้อสีที่ต้องการ ถ้าต้องการพิมพ์สียางที่พิมพ์แล้วมีเนื้อสีที่บางติดกับผ้า ก็ควรเลือกใช้ผ้าสกรีนที่มีเนื้อละเอียดกว่าปกติ และถ้าใช้ผ้าสกรีนที่มีความหยาบกว่าที่ใช้อยู่ก็จะได้สียางที่มีเนื้อหนาขึ้น สำหรับปัจจัยสุดท้ายก็คือ ความคมชัดของลวดลายที่ต้องการ เช่น การพิมพ์แป้งจมในงานอ๊อฟเซ็ตสี่สีกับการพิมพ์แป้งจมในลวดลายธรรมดา ก็จะต้องเลือกใช้ผ้าสกรีนที่มีความละเอียดหรือหยาบต่างกัน การพิมพ์แป้งจมในงานอ๊อฟเซ็ตสี่สีก็ควรจะใช้ผ้าสกรีนที่มีความละเอียดมากกว่าการพิมพ์แป้งจมในลวดลายธรรมดา
ตารางการเลือกใช้ผ้าสกรีน 
ประเภทของแป้งพิมพ์ความข้นเหลวผ้าสกรีนที่เลือกใช้
พิมพ์หนา/ไม่เน้นขอบ/ลายพิมพ์ใหญ่พิมพ์บาง/เน้นขอบคมชัด/ลายพิมพ์เล็ก ๆ
สีจม / สีอ๊อฟเซ็ต60,000 cps.135 mesh/inch150 mesh/inch
สีลอย / สียาง / สีนูน80,000 cps.100 mesh/inch120 mesh/inch
สีพลาสติซอล / สีซิลิโคน90,000 cps.150 mesh/inch180-305 mesh/inch
สีนูนน้ำ / นูนพลาสติซอล100,000 cps.80 mesh/inch100-120 mesh/inch
สีสีขาว / สีรองพื้น / ขาวพลาสติซอล120,000 cps.80 mesh/inch100-120 mesh/inch
สีเงิน-ทอง-มุก100,000 cps.80 mesh/inch100 mesh/inch
กากเพชรหกเหลี่ยม .2 mm.80,000 cps.36-50 mesh/inch65 mesh/inch
กาวพิมพ์ฟอยล์ / กำมะหยี่80,000 cps.80 mesh/inch100 mesh/inch
กาวลูกแก้ว/เยลลี่พริ้นท์80,000 cps.65 mesh/inch80 mesh/inch

          มีการกล่าวกันในวงการพิมพ์ผ้าว่า ถ้าต้องการงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ ควรเลือกใช้ผ้าสกรีนหลายเบอร์ในการพิมพ์งาน 
1 ลาย เพราะในงานพิมพ์ 1 ลายมีลายพื้น ลายเส้น หรือลายริ้วต่าง ๆ รวมกันอยู่ในลายเดียวกัน และนอกจากผ้าสกรีนจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ควรจะพิถีพิถันในการสร้างงานพิมพ์ผ้าให้ได้คุณภาพแล้ว ยางปาดสีก็เป็นปัจจัยต่อไปที่จะต้องมาดูกัน

ที่มาของบทความนี้เรียงความจากความรู้ความคิดและประสบการณ์การทำงานจริง โดยไม่ได้คัดลอกจากผู้ใดทั้งสิ้น ของ หจก. เอส.เค. สีและเคมี  ตั้งแต่ปี 2535
เอกสารเผยแพร่ ของ เอส.เค. สกรีน เทรนนิ่ง เซนเตอร์  ศูนย์ฝึกอบรมการพิมพ์สกรีนสิ่งทอไทย  ในเครือ หจก. เอส.เค. สีและเคมี โดย รุ่งทิพย์ อมรวชิรวงศ์   อาจารย์พิเศษและวิทยากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


*ข้อมูลทั้งหมดที่ระบุไว้ในบทความข้างต้นนี้ รวมทั้งคำแนะนำต่าง ๆ ล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากความรู้และความเข้าใจในปัจจุบันของผู้เขียนทั้งสิ้น และถือได้ว่าความรู้ดังกล่าวมีความถูกต้องแม่นยำแล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนยังไม่สามารถให้การรับประกันความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลและคำแนะนำดังกล่าวได้ในทุก ๆ กรณี เนื่องจากผู้เขียนไม่อาจคาดคะเนได้ว่าผู้อ่านจะนำข้อมูลหรือคำแนะนำ ไปใช้เมื่อใด ทางด้านใดบ้าง และมีปัจจัยอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและผู้เขียนขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูล และคำแนะนำข้างต้นตลอดเวลาด้วยโดยไม่มีการแจ้างให้ทราบล่วงหน้า*  



ขอบคุณ  ข้อมูลดีๆจาก
http://www.skcolorchem.co.th

แปรงปาดสี

> การเลือกซื้อยางปาดสี .....026/101
การเลือกซื้อยางปาดสีให้เหมาะกับงานที่ต้องการพิมพ์ จะมีวิธีเลือกซื้อกันอย่างง่ายๆ ดังนี้
>> ขนาดของยางปาดสี
หากเป็นยางปาดที่จะใช้กับด้ามอลูมิเนียมควรจะมีหน้ากว้างประมาณ 4 ซม และด้ามไม้ควรจะมีหน้ากว้าง 5 ซม. เพราะด้ามไม้จะต้องให้เนื้อยางจมลึกไปในเนื้อไม้ถึง 2 ซม. แต่ด้ามอลูมิเนียมเนื้อยางจมลึกเข้าไปเพียง 1 ซม ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งจะได้เนื้อยางโพล่พ้นด้ามออกมา 3 ซม. เท่ากัน สำหรับความหนาของยางก็ขึ้นอยู่กับความหนืดของสีและชนิดของสี ถ้าเป็นสียางนิยมใช้ยางปาดที่มีความหนา 7 mm. แต่ถ้าเป็นสีพลาสติซอลนิยมใช้ความหนาที่ 9 mm. เนื่องจากสียางจะมีความหนืดน้อยกว่าสีพลาสติซอล
>> เนื้อยางปาดสี
เนื้อยางปาดสีที่เหมาะสมและดีที่สุดขณะนี้ คือ ยางยูรีเทน จะเป็นยางที่ใฃ้พิมพ์ได้กับสีพิมพ์หลายประเภท ทั้งสียางและสีพลาสติซอล เนื้อยางมีความคมและทนทานมากกว่ายางชนิดอื่น
>> ความแช็งของยางปาดสี
ควรเลือกยางที่มีความแข็งที่เหมาะสมกับสี สียางหรือสีพิมพ์สูตรน้ำอื่นๆ ควรใช้ยางปาดที่มีความแข็งที่ 60-65 Shore A สีพลาสติซอลควรใช้ยางที่มีความแข็งที่ 70-75 Shore A

> ขนาดของแปรงปาดสีกับลายพิมพ์.....027/101
ขนาดความยาวของแปรงปาดสีที่เหมาะสม คือ ปลายของแปรงปาดทั้งสองด้านจะต้องเลยลายพิมพ์สกรีนด้านละ1 ซม. เป็นอย่างน้อย และต้องไม่ชิดกับขอบบล็อกสกรีนมากเกินไปด้วย

> พิมพ์สียางใช้แปรงปาดสีอย่างไร......028/101
ควรใช้แปรงปาดสีด้ามไม้สักหรือด้ามอลูมิเนียมก็ได้ สำหรับเนื้อยางจะใช้เป็นยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ก็ได้เช่นกัน ควาหนาของเนื้อยางสำหรับงานพิมพ์น้อยถึงธรรมดาจะใช้กันที่ 7 mm. ถ้าเป็นงานพิมพ์หนัก หรืองานที่ต้องพิมพ์กับเนื้อสีข้นๆ ควรใช้ยางที่มีความหนา 9 mm. ความแข็งของเนื้อยางที่ 60-65 Shore A

> พิมพ์สีพลาสติซอลใช้แปรงปาดสีชนิดใหน.....029/101
ควรใช้แปรงปาดสีด้ามไม้สักหรือด้ามอลูมิเนียมก็ได้ สำหรับเนื้อยางจะใช้เป็นยางสังเคราะห์เท่านั้น ยางสังเคราะห์ที่หมาะสมที่สุด คือUrethane Rubber ควาหนาของเนื้อยาควรใช้ยางที่มีความหนา 9 mm. ความแข็งของเนื้อยางที่ 70-75 Shore A

> ด้ามแปรงปาดสีรูปตัวเอส.....030/101
เป็นด้ามแปรงปาดสีที่ทำจากอลูมิเนียม ด้ามจะดัดโค้งเป็นรูปตัวเอสทำให้พิมพ์สกรีนได้ถนัดและเหมาะมือมากกว่าแบบธรรมดา งานที่พิมพ์สกรีนได้ก็จะมีคุณภาพมากขึ้นตามไปด้วย


ขอบคุณ  ข้อมูลดีๆจาก
http://www.skcolorchem.co.th

กรอบบล็อกสกรีน


พร้อมทั้งแนะนำเทคนิคพิเศษ ช่วยลดต้นทุนในการผลิต ลงทุนไม่เกิน 7000 บาท ก็สามารถเปิดร้านสกรีนได้

ชุดเริ่มต้นงานสกรีนเสื้อ ป่อง 0632637204 ( เหมาะสำหรับผู้คิดเริ่มต้นอาชีพสกรีนเสื้อ )
1 ตู้ไฟบล็อคสกรีน                                                                           2500  บาท
2 สีจมสกรีนเสื้อ แม่สี ดำ ขาว เหลือง น้ำเงิน แดง 5กระป๋องๆ ละ250x5 เท่ากับ  1250  บาท

3.แม็กยิงผ้าขึงบล็คสกรีน                                                                  1000 บาท

4.ผ้าขึงบล็อค 2 เมตร /เมตรละ200                                                        500  บาท

5.ยางปาดสี                                                                                      200  บาท

6กระบอกฉีดบล็อก                                                                              150  บาท
7.บล็อคเปล่า.   อันละ                                                                           200  บาท
8.กาวอัดบล็อค                                                                                        200 บาท
9.น้ำยาเคลือบบล็อค                                                                                 150 บาท        
พร้อมสอนการทำบล็อคสกรีน                                                                  1500บาท                      

                                                                  รวมราคา7000 บาท
สั้งชุดเริ่มต้น ไม่รวมค่าจัดส่ง....
หลักสูตรเร่งรัด ผู้รับการฝึกอบรมสามารถเลือกวันและเวลา ว่างวันไหน สะดวกเวลาไหน ท่านสามารถจัดได้เองทุกวัน

 เปิดอบรมสอทุกวัน จันทร์ - อาทิตย์

(หลักสูตร 1 วัน สอนตั้งแต่ไม่เป็น จนสามารถประกอบอาชีพได้

       สอบถามได้ที่เบอร์0632637204 

email papong9@hotmail.comร้านโอมสกรีน  รับสกรีนเสื้อ หลากหลายแบบ ตามแนวความคิดของท่าน

ลายพิมพ์สกรีน

 > ทางลัดการออกแบบลายพิมพ์ผ้า..... 001/101
การออกแบบลายพิมพ์สกรีนผ้าทางลัด คือ การนำคลิปอาร์ต(Crip Art) สำเร็จรูปที่มีอยู่อย่างมากมายตามที่ต้องการและเห็นว่าเหมาะสมมามีส่วร่วมในการออกแบบลายพิมพ์ผ้า ซึ่งจะทำให้การออกแบบง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำไปแยกสีได้เลยทันที


> การเพิ่มความดำของฟิล์ม.....002/101
หลังจากพริ้นฟิล์มหรือไขจากเครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ หากฟิล์มยังดำไม่เข้มเพียงพอ ให้ใช้สเปร์พ่นเร่งความดำได้ สเปร์ชนิดนี้เรียกว่า D-toner Spray พ่นฟิล์มด้านหมึกดำ หมึกจะดำขึ้นมาทันที ซึ่งจะทำให้ฟิล์มหรือไขใช้ในการถ่ายบล็อกได้ดีขึ้น


> การแยกสีแบบฮาล์ฟโทน.....003/101
แต่เดิมจะใช้วิธีการแยกสีแบบภาพเหมือนจริงแบบ CMYK ซึ่งจะได้ฟิล์มสี่สี ซึ่งการแยกสีแบบเดิมจะพิมพ์ได้เฉพาะบนผ้าขาว หากต้องการพิมพ์ผ้าสีหรือผ้าดำจะต้องทำบล็อกรองพื้น ทำให้สีที่พิมพ์สกรีนลงไปแข็งกระด้างไม่นุ่ม และทำให้สสีที่พิมพ์สกรีนแต่ละชิ้นมีสีที่แตกต่างกัน ยากต่อการควบคุมสีลายพิมพ์ให้เหมือนกันทุกชิ้น จึงมีการใช้วิธีการแยกสีแบบฮาล์ฟโทน ในการแก้ไขเรื่องนี้ การแยกสีแบบนี้จึงเป็นที่นิยมและนำมาใช้การพิมพ์สกรีนผ้ามากขึ้น การแยกสีแบบนี้จะแยกสีตามสีของลายพิมพ์ เช่นลายพิมพ์มีสีเขียวก็ดึงสีเขียวเหมือนต้นแบบมาใช้เลย ไม่ต้องใช้วิธีสอดสีแบบ CMYK



> การยิงฟิล์มแทนไขในงานหลายสีและงานเม็ดสกรีน.....004/101
การยิงฟิล์มในงานหลายสีและงานเม็ดสกรีน เช่นงานไล่แกรเดี้ยน (Gradient) งานฟิล์มสอดสี (CMYK) และงานฮาล์ฟโทน(Halftone)หากต้องการงานคุณภาพควรใช้ฟิล์มแทนการใช้กระดาษไข เพราะกระดาษไขแต่ละสีที่พริ้นออกมาจะหดไม่เท่ากันและเม็ดสกรีนที่ยิงได้ก็ไม่กลมมนเหมือนยิงด้วยฟิล์มด้วย
ขอบคุณ  ข้อมูลดีๆจาก
http://www.skcolorchem.co.th


น้ำยาผสมสียาง

ถ้าเป็นสีสกรีนเสื้อเชื้อน้ำ หรือ สีสกรีนเสื้อ เมื้อสีเกิดการหนืด ง่ายๆๆ  ก็ผสมน้ำลงไปในสีสกรีน ดูว่า มันเลิกหนืดหรือยัง จากประสบการจริง ใช้ได้ จริง
            ในกรณีที่สีแห้ไวมาก ติดบล็อคสกรินไปไม่ถึงสิบตัว สีแห้งคาบล็คซะแล้ว นั้นอาจเกิดจากสีที่ เสื่อมคุณภาพแล้ว  ทางที่ดี ตอนซื้อสี ควรตรวจ สอบปีที่ผลิต วันเดือนปี ควรไม่เกิด หกเดือน นะเวลานั้น
      สี ที่ดี  ควรเป็นวุ้นเหมือน ขนมวุ้น  จะต้องไม่เป็นเม็ดในเนื้สี สกรีน

วิธีใช้น้ำยาเคลือบบล็อค


> การทำบล็อกหนา .....017/101การทำบล็อกสกรีนให้หนาเพื่อประโยชน์ของการพิมพ์งานให้หนาขึ้น ทำได้ 3 วิธี
1. โค้ตกาวถ่ายบล็อกด้านหลังบล็อก (ด้านสัมผัสกับแป้นพิมพ์สกรีน) ให้มากรอบขึ้น การโค้ตกาวให้
รูดจากด้านล่างขึ้นบน ในลักษณะทิศทางเดียว และรูดรางปาดกาวช้า ๆ กาวถ่ายบล็อกที่เตรียมเพื่อกาว
โค้ตกาวควรมีความข้นสูงจะทำให้กาวหนาขึ้นได้ง่ายขึ้นอีก และช่วยให้ไม่ต้องโค้ตกาวมากรอบอีกด้วย
วิธีนี้อาจจะทำให้ถ่ายแสงล้างลายยาก
2. ใช้กาวถ่ายบล็อกเฉพาะ คือ กาวถ่ายบล็อกหนา SK-G โค้ต จะทำให้โค้ตกาวได้หนาง่ายและสะดวก
ขึ้น และเมื่อนำไปถ่ายแสง ก็จะล้างลายได้ง่ายขึ้น
3. ใช้ฟิล์มถ่ายบล็อกสำเร็จรูปติดบนด้านหลังบล็อก วิธีนี้จะต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก และแผ่นฟิล์มที่ปะติด
อาจไม่ทนทานมากนัก

> การวางตำแหน่งลายบนบล็อกสกรีน .....018/101
การวางตำแหน่งลายพิมพ์บนบล็อกสกรีน ให้วางที่จุดกึ่งกลางของบล็อกเสมอ แต่จะต้องให้ขอบของลาย
พิมพ์สกรีน อยู่ห่างจากขอบในด้านข้างทั้งสองข้างและด้านบนไม่ต่ำกว่า 2.5 นิ้ว เพราะแรงตึงของผ้าสกรีน
ใกล้ขอบบล็อกจะมีความตึงมากกว่า ซึ่งอาจจะทำลายพิมพ์ไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการก็ได้ ส่วนด้านล่าง
ให้ห่างจากขอบล่างไม่ต่ำกว่า 4 นิ้ว เพื่อพักสี


> การโค้ตกาวถ่ายบล็อกให้เรียบเนียน.....019/101
การโค้ตกาวถ่ายบล็อกให้เรียบเนียนจะทำให้บล็อกสกรีนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เทคนิคการโค้ตกาวให้เรียบ
เนียนขั้นต้น อยู่ที่การมีรางปาดโค้ตกาวที่มีคุณภาพ เหมาะกับมือ ปากรางปาดตัดตรงสม่ำเสมอ ไม่มีฟันปลา
และมีขนาดยาวพอดีกับหน้าผ้าสกรีน ที่ขึงแล้วในบล็อก ขั้นต่อไป คือความชำนาญของการโค้ตกาว ผู้ที่มี
ความชำนาญเวลาโค้ตกาวจะโค้ตจากข้างล้างขึ้นข้างด้วยความเร็ว ที่สม่ำเสมอ แรงกดรางปาดกาวที่สมำเสมอ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นลักษณะของแต่ละบุคคล รวมถึงการฝึกฝนอย่างมีทักษะด้วย การโค้ตกาวถ่ายบล็อกบน
ผ้าสกรีนที่มีความถีห่างของผ้าสกรีนต่างกันก็จะไม่เหมือนกัน การโค้ตกาวถ่ายบล็อกผ้าสกรีนที่มีความถี่ ของผ้า
สกรีนมากจะโค้ตกาวถ่ายบล็อกได้ง่ายกว่าผ้าสกรีนที่มีความห่างของผ้าสกรีนมาก การโค้ตกาวถ่ายบล็อกบน
ผ้าสกรีนที่มีรูผ้าสกรีน ห่าง ๆ เช่น ผ้าสกรีนพิมพ์กากเพชร จะต้องโค้ตกาวมากรอบกว่า จังหวะการรูดรางปาด
กาวขึ้นก็ต้องช้า ๆ และสม่ำเสมอ ถ้าจะให้ง่าย ก็ควรจะใช้กาวถ่ายบล็อกเฉพาะ คือ กาวถ่ายบล็อกหนาแทนกาว
ถ่ายบล็อกทั่วไปได้ เพราะกาวถ่ายบล็อคชนิดนี้จะปิดรูถ่าง ของผ้าสกรีนได้ง่ายและทันทีในรอบแรก
> พิชิตบล็อกถ่ายยาก .....020/101

พิชิตบล็อกถ่ายยาก ปัญหาบล็อกสกรีนถ่ายลายยากมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย เช่น คุณภาพของกาวถ่ายบล็อก
ที่ใช้ การแห้งตัวของกาวที่โค้ตลงไป ปริมาณของไวแสงที่ใส่ลงไป กำลังไปที่ใช้ระยะเวลาในการถ่ายแสง
การฉีดน้ำเพื่อล้างลาย และความชำนาญของผู้ทำงาน เป็นต้น ดังนั้นผู้ถ่ายจะต้องศึกษาและสัมผัสกับงานนี้
ให้ได้ด้วยการเรียนรู้และฝึกหัด***อย่างถูกต้อง เมื่อมีความเข้าใจอย่างลึกซึ่ง ก็จะทำให้ผู้ใช้สามาถพิซิต
เรื่องนี้ได้เอง
> เทคนิคการถ่ายบล็อกง่าย ๆ .....021/101

การถ่ายบล็อกที่ง่ายที่สุด คือการถ่ายบล็อกโดยใช้แสงนีออน เพราะแสงนีออนมีอยู่ทั่วไป เพียงแต่ว่าเราจะ
จัดวางแสงนีออนให้อยู่ในตำแหน่งใด จะให้อยู่ใต้บล็อกหรือเหนือบล็อกสกรีนก็สามารถถ่ายได้ทั้งนั้น เพียง
แต่ควรระวังไม่ให้บล็อกที่โค้ตกาวแล้วโดนแสงที่ไม่ได้ใช้ในการถ่ายบล็อกเพราะอาจจะทำให้ไวแสงบางส่วน
ไปทำปฏิกิริยากับแสงก่อน การถ่ายบล็อกก็จะยากขึ้น สำหรับการถ่ายบล็อกโดยใช้แสงอาทิตย์ก็อาจจะทำได้
แต่จะยากกว่าการถ่ายโดยใช้หลอดนีออน เพราะแสงอาทิตย์เราไม่สามารถเปิดปิดได้ตามต้องการ และเป็น
แสงที่ไม่นิ่งและต้องรอเวลาที่แสงแดดมีกำลังแสงมากพอด้วย
> การใช้กำลังแสงในการถ่ายบล็อก ....022/101

กำลังและเวลาในการถ่ายบล็อกสกรีนเป็นเรื่องที่ผกผันกัน คือถ้าตู้ถ่ายบล็อกมีกำลังแสงมากก็จะใช้เวลาน้อย
ในการถ่ายแสง และถ้าตู้ถ่ายบล็อกมีกำลัแสงน้อยก็ต้องใช้เวลาในการถ่ายบล็อกมากขึ้นและนอกจากนี้น้ำยา
ไวแสงที่เติมลงไปในกาวถ่ายบล็อกสกรีนปริมาณมากน้อยก็มีผลกับการถ่ายแสงด้วยเหมือนกัน คือการเติม
น้ำยาไวแสงมากก็จะใช้เวลาถ่ายน้อยลงแต่ถ้าเติมน้ำยาไวแสงน้อยก็ต้องใช้เวลาถ่ายแสงมากขึ้น ดังนั้นผู้ถ่าย
บล็อกก็ต้องคำนวนเรื่องเหล่านี้ไว้ทำงานด้วย
> ล้างลายในบล็อกสกรีนอย่างง่ายๆ .....023/101

การล้างลายหลังจากถ่ายบล็อกสกรีนเสร็จแล้ว อาจจะพบว่าบางที่ล้างลาบออกง่ายเกินและบางทีก็ล้างลายยาก
เกินไป ปัจัจยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เพราะว่า กำลังไปที่ถ่ายแสงและเวลาผกผันกันอย่างไม่เหมาะสม
อีกสาเหตหนึ่งก็คือ ความเข้มข้นของน้ำยาไวแสงที่ใช้หรืออัตราการใสน้ำยาไวแสงสำหรับสาเหตุประการสุดท้าย
คือ กาวถ่ายบล็อกสกรีนแห้งเกินไปนั่นเอง ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้ล้างลายง่าย ๆ คือ การหาค่าที่ลงตัวระหว่าง กำลังไฟ
เวลา น้ำยาไวแสง การแห้งตัวของกาว ซึ่งสามารถคาดคะเนการทำงานได้ดังนี้ หากตู้ถ่ายบล็อกมีกำลังไฟสูง
ก็ต้องใช้เวลาน้อยลง หากใสน้ำยาไวแสงมากกาวไวต่อแสงมาก อยู่แล้ว เวลาและกำลังไฟก็ต้องลดลง สำหรับ
กาวถ่ายบล็อกหากอบให้แห้งมากเกินไปพื้นที่ที่มีฟิล์มดำบังไว้จะไม่บวมน้ำ ทำให้ล้างลายยาก
> การเคลือบบล็อกสกรีนให้ทนทาน .....024/101

เทคนิคการเคลือบบล็อกให้ทนทานมากๆ ให้ใขน้ำยาไวแสงเคลือบบล็อกได้เลย เคลือบบนกาวถ่ายบล็อกได้
ทุกชนิด วิธีเคลือบบล็อกให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาไวแสงเช็ดด้านหน้าและด้านหลังบล็อก แล้วเป่าแห้งหลังจากแห้งดี
แล้ว ให้นำไปถ่ายแสงที่ตู้ถ่ายบล็อค หรือนำไปตากแดดก็ได้ การถ่ายแสงหรือการถ่ายบล็อกจะวิธีที่ทำให้น้ำยา
ไวแสง ไปทำปฏิกิริยากับแสง ซึ่งจะทำให้กาวถ่ายบล็อกแข็งแกร่งขึ้น ทนทานต่อการพิมพ์สกรีนสูงวิธีนี้จะล้าง
กาวถ่ายบล็อคออก เพื่อนำบล๊อดสกรีนมาถ่ายลายใหม่ไม่ได้ ซึ่งจะต้องทำการขึงผ้าสกรีนใหม่เท่านั้น
> เคลือบบล็อกแล้วผ้าสกรีนขาด .....025/101

การเคลือบบล็อกสกรีนมีอยู่ 2 วัตถุประสงค์ คือเคลือบเพื่อให้บล็อกสกรีนทนต่อสีพิมพ์สกรีนสูตรน้ำ การเคลือบ
แบบนี้นิยมเคลือบบน กาวถ่ายบล็อกสีฟ้าและกาวถ่ายบล็อกสีม่วง ผ้าสกรีนทีใช้ในการพิมพ์สกรีนสีพิมพ์สกรีนสูตร
น้ำจะเป็นผ้าสกรีนเส้นใหญ่ และมีรูผ้าสกรีนระหว่าง 100-135 รู/นิ้ว เมื่อถูกเคลือบบล็อกทีมีสภาะเป็นกรดผ้า
สกรีนเหล่านี้จะทนทานต่อสภาวะกรดดังกล่าวได้ ผ้าจะไม่ขาด อีกวัตถุประสงค์หนึ่งที่ต้องเคลือบบล็อกคือ ต้อง
การเคลือบบล็อกให้ทนทานต่อการใช้งานอย่างถาวร วิธีนี้จะใช้เคลือบ น้ำยาไวแสงเคลือบแทน ซึ่งการเคลือบ
บล็อกในลักษณะนี้จะใช้เคลือบได้กับกางทุกประเภท ถึงแม้นว่าจะเคลือบที่กาวถ่าบล็อกสีชมพู จะสามารถเคลือบ
ได้ผ้าสกรีนจะไม่ขาด แต่ที่เคลือบบล็อกแล้วบล็อกสกรีนขาด อาจจะเป็นเพราะว่านำน้ำยาเคลือบบล็อกไปเคลือบ
บนผ้าสกรีนที่มีเส้นในเล็กบาง ๆ ส่วนใหญ่ผ้าสกรีนชนิดนี้มักจะถูกใช้กับกาวถ่ายบล็อกสีชมพู ซึ่งเป็นการเคลือยบล็อก
ผิดประเภทนั่นเอง โดยทั้วไปผ้าสกรีนเส้นเล็ก ๆ และลเอียด ๆ มักจะใช้ในการพิมพ์สีนำมัน ดังนั้นการใช้กาวถ่าย
บล็อกสีชมพู จึงไม่จำเป็นต้องเคลือบบล็อก เพราะไม่ได้ใช้พิมพ์สีพิม

 ขอบคัณ ขอ้มมูลดีๆ จาก
http://www.skcolorchem.co.th     







 ขอบคุณ  ข้อมูลดีๆจาก 

                                                                            


   






 ขอบคุณ  ข้อมูลดีๆจาก 
                                                                            http://www.skcolorchem.co.th   

เส้นทางอาชีพ ถ่ายบล็อคสกรีน ไม่ติดทำไงดี

การถ่ายบล็อตสกรีน

การพิมพ์สกรีนขั้นพื้นฐาน

การพิมพ์สกรีน
เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้หลักการปาดสีหรือหมึกพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนที่ขึงตึงบนกรอบที่ทำขึ้น โดยปิดและเปิดบริเวณรูผ้าสกรีนให้มีลายภาพตามความต้องการ การพิมพ์นี้สามารถพิมพ์ได้กับวัสดุหลายชนิด เช่น กระดาษ สติกเกอร์ ไม้ ผ้า กระจก กระเบื้อง เซรามิค พลาสติก โลหะ ฯลฯ และหลายรูปทรง เช่น วัสดุพื้นราบ ทรงกระบอก และวัสดุรูปทรงไข่ เป็นต้น ทั้งที่มีขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่โดยไม่จำกัด
ปัจจุบันระบบการพิมพ์สรีนเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ และวงการศึกษามากขึ้น เช่น ใช้พิมพ์สินค้าให้สวยงามน่าใช้ ใช้พิมพ์ป้าย งานสื่อโฆษณา - ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เป็นต้น และนับว่าเป็นระบบการพิมพ์งาน์ที่ใช้ลงทุนน้อยโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ - เครื่องมือเครื่องใช้เพียงไม่กี่ชนิดก็สามารถพิมพ์ได้
กระบวกการพิมพ์สกรีน เป็นระบบการพิมพ์ที่มีขั้นตอนการทำงานที่ง่าย
สามารถจำแนกออกได้ 3 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมแม่พิมพ์สกรีน (Pre - Stencil) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
- การขึงสกรีน
- การทำความสะอาดสกรีน
2. การสร้างแม่พิมพ์สกรีน (Stencil) สามารถสร้างได้ 2 วิธี คือ
- สร้างแม่พิมพ์โดยไม่ใช้แสง (Non- Exposure)
- สร้างแม่พิมพ์โดยวิธีถ่ายด้วยแสง (Exposure)
3. การพิมพ์สกรีน (Printing) แบ่งตามลักษณะการพิมพ์สกรีนได้ 3 แบบ คือ
- การพิมพ์แบบสีเดียวหรือหลายสี (Single / Multi Colour ) พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์สีทึบ ซึ่งสีแต่ละสีเกิดจากการพิมพ์สีละ 1 ครั้ง โดยการพิมพ์ลายภาพที่เป็นแบบสีเดียวหรือหลายๆ สีก็ได้
- การพิมพ์แบบหมึกชุดสอดสี ( Process Colour ) พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ชุดสอดสี ใช้หมึกกึ่งโปร่งแสง ประกอบด้วย สีเหลือง สีบานเย็น สีคราม และสีดำ การพิมพ์ด้วยหมึกประเภทนี้ จะเป็นการพิมพ์โดยใช้เม็คสกรีนพิมพ์ซ้อนหรือเหลื่อมกันเพื่อให้เกิดการผสมผลานกันระหว่างหมึกพิมพ์ได้สีต่าง ๆ ออกมามากมายตามต้นฉบับ
- การพิมพ์ด้วยเทคนิคพิเศษ ( Special Effect ) เป็นการพิมพ์ลงบนชิ้นงานบางชนิดที่ไม่สามารถพิมพ์ด้วยระบบทั่วๆ ไป เช่น การพิมพ์วัสดุรูปทรงศรี วัสดุผิวโค้ง และวัสดุผิวขรุขระ เป็นต้น

เอกสารประกอบชุดการฝึกทำสกรีน สำหรับผู้เริ่มต้น..
ปัจจุบันระบบการพิมพ์สรีนเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ และวงการศึกษามากขึ้น เช่น ใช้พิมพ์สินค้าให้สวยงามน่าใช้ ใช้พิมพ์ป้าย งานสื่อโฆษณา - ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เป็นต้น และนับว่าเป็นระบบการพิมพ์งาน์ที่ใช้ลงทุนน้อยโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ – เครื่องมือเครื่องใช้เพียงไม่กี่ชนิดก็สามารถพิมพ์ได้ และสามารถทำให้ท่านนำไปประกอบอาชีพได้โดยลงทุนไม่มากนักแต่ ทำเงินได้เกินพอเชียวล่ะ
เช่น..ลองพิมพ์เสื้อยืดไว้ขาย หรือ พิมพ์วัสดุต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้านั้นๆ
1.อุปกรณ์ การทำสกรีนเบื้องต้น (สำหรับผู้ฝึกทำใหม่)
1.กาวอัดสกรีน 1 ขวด
2.น้ำยาไวแสง 1 ขวด
3.บล็อกสกรีน 1 บล็อก
4.ยางปาดสี 1 อัน
5.กระจกใส  1  แผ่น
6.สีสกรีนผ้า  1  ขวด
7.ผงล้างบล็อกสกรีน 1  ขวด
8.เอกสารประกอบ"สอนการทำบล็อกสกรีน แบบปฏิบัติจริง"
2. การเตรียมสร้างแบบสกรีน(ต้นฉบับสำหรับพิมพ์เสื้อ)
1. นำกระดาษขาว เอ 4 ธรรมดา วางลงบนโต๊ะ
2. วาดแบบอะไรก็ได้ตามต้องการ แต่ต้องวาดด้วยหมึกสีดำ
หรือปากกาหมึกดำ และต้องวาดด้านเดียว หรือจะใช้อิงค์เจ็ทพิมพ์แบบสี
ดำลงบน กระดาษ เอ4 ก็ได้ (ต้องเน้นใช้หมึกดำนะครับ ห้ามใช้สีอื่น)
3. นำกระดาษขาวที่วาดแบบแล้ว วางลงบนกระจกใสที่ให้มา เอาสำลีจุ่ม
น้ำมันพืชที่หาได้ในครัว ถูทาให้ทั่วแผ่นกระดาษ (เพื่อให้กระดาษนั้นใส
ขึ้น แต่ต้นแบบของเราต้องไม่ซึมนะครับ)

3.การเริ่มต้นทำบล็อกสกรีน(เบื้องต้น)
1. เทกาวอัดลงในภาชนะ ประมาณ 5 ช้อน
2. เทน้ำยาไวแสง 1 ช้อน
3. ผสมกาวอัดและน้ำยาไวแสงเข้าด้วยกัน คนให้เข้ากัน(จะออกสีน้ำตาลๆ)
4. นำกาวอัดที่ผสมเสร็จแล้ว เทลงหลังบล็อกสกรีนให้ปริมาณพอควร
5. เอายางปาดสกรีนที่เช็ดแห้งแล้ว ปาดกาวอัด ขึ้นและลงให้ทั่วๆบล็อกสกรีน
และพยายามให้กาวอัด ราบเรียบ อย่าให้กาวดูแล้วหนานะครับ
6. เศษกาวอัดที่ด้านข้างๆของบล็อกสกรีน หาเศษผ้ามาเช็ดทิ้งไป อย่าให้เยิ้มเป็น
ก้อน อาจจะมีปัญหาเวลาเป่าบล็อกแล้วมันไม่ค่อยจะแห้ง
7. จากนั้น ก็นำเอาไดร์เป่าผม มาเป่าบล็อกสกรีนดังกล่าวให้แห้ง (ขณะที่เป่าควรทำในที่มืดๆ พยายามอย่าให้โดนแสงสว่าง และห่างประมาณ 1 ฟุต) วิธีสังเกตว่าบล็อกแห้ง หรือยังนั้น ควรดูว่า กาวที่ฉาบลงไปนั้น มีสีที่ใสขึ้นแล้วหรือยัง (สีสันมันจะดูใสๆแบบลูกโป่งที่เราเป่าให้พองโต)
8. เมื่อเป่าบล็อกสกรีนด้วยลมร้อนจนแห้งดีแล้ว..
จงจำไว้ว่า กาวอัดบนบล็อกสกรีนที่แห้งแล้วนั้น เปรียบเสมือน ฟิลม์ถ่ายรูปดีๆนี่เอง..ดังนั้นจึงต้องระวังอย่าให้ถูกแสงที่สว่างจ้าขณะที่เก็บบล็อกไว้ เพื่อการเตรียมอัดบล็อกสกรีนต่อไป

4. การอัดบล็อกสกรีน เพื่อสร้างแม่แบบ บล็อกสกรีน
1. นำกระจกใสที่เราเอาแบบวาดหรือแผ่นกระดาษ ซึ่งชุบทาถูน้ำมันพืชไว้
เรียบร้อยแล้วนั้น มาวางทาบกับด้านหลังของบล็อกสกรีนตามลำดับ(ดังรูป)
  •   กระจก
  • กระดาษต้นฉบับ
  • บล็อกสกรีน
  • กระดาษดำ(ใช้กระดาษคาร์บอนก็ได้)
  • หนังสือหนาๆ
                 
2. ด้านหน้าของบล็อกสกรีนนั้น เอากระดาษดำ(ใช้กระดาษก็อปปี้ก็ได้ครับ) หรือผ้าดำ วางทับไว้
3. ใช้มือจับนำอุปกรณ์ทั้งหมด(ดังในภาพ)หงายขึ้น แล้วส่องให้ถูกกับแสงแดด โดยใช้เวลาประมาณ 10 วินาที (กรณีแดดจ้า)
4. หลังจากนั้น ก็นำบล็อกสกรีนที่ผ่านการฉายแสงแล้ว มาล้างด้วยน้ำเปล่าธรรมดา หรือฉีดด้วยสายยางน้ำประปา เพื่อให้ภาพที่ถ่ายไว้ในบล็อกสกรีนปรากฏขึ้น
5. จากนั้นก็นำบล็อกสกรีนนี้ไปตากแดด หรือ เป่าด้วยลมร้อนจากไดเป่าให้แห้งสนิท
6. นำเทปกาวย่นธรรมดาที่มีขายทั่วไป ปะติดขอบบล็อกด้านนอก(ด้านหลัง)ทั้ง 4 ด้าน เป็นอันว่า เสร็จแล้วครับ.. คุณจะได้บล็อกสกรีนที่พร้อมใช้งานแล้วครับ.

5. ขั้นตอนการพิมพ์ผ้า..หรือเสื้อยืด
1. นำเสื้อ หรือ วัสดุที่เป็นประเภทผ้า มาวางไว้บนพื้นโต๊ะที่ราบเรียบ ถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้ไม้อัด หรือ แผ่น ฟิวเจอร์บอร์ด (แผ่นพาสติกลูกฟูก) ตัดให้เล็กกว่าตัวเสื้อเล็กน้อย สอดในตัวเสื้อ แล้วเอามือลูบให้ราบเรียบ(ถ้าไม่เรียบให้ซื้อกาวยึดผ้ามาทาก่อน แล้วผ้าจะเรียบไม่ย่น การพิมพ์ก็จะง่ายขึ้นครับ)
2. นำบล็อกสกรีนที่เตรียมไว้ มาวางบนเสื้อที่ต้องการจะพิมพ์
3.เทสีสกรีนที่เตรียมไว้ ลงบนบล็อกสกรีน
4.ใช้ยางปาด ปาดสีผ่านบล็อกสกรีน ไปมา 2-3 ครั้ง แล้วยกบล็อก ขึ้น ถ้าจะพิมพ์หลายๆตัว ก็ ยกบล็อกไปพิมพ์ตัวต่อไป ด้วยวิธีเดียวกัน จนหมดชิ้นงานที่จะพิมพ์

6. ขั้นตอนการล้างบล็อก
1. จำไว้นะครับ พิมพ์เสื้อเสร็จแล้ว ต้องล้างบล็อกทันที (เน้น..นะครับ ต้องล้างบล็อกทันทีที่พิมพ์เสร็จ.)
2. นำบล็อกสกรีนที่ ใช้แล้ว ปาดสีออกให้หมด
3. จากนั้นก็ล้างด้วยน้ำเปล่าธรรมดา โดยเอาน้ำราดบล็อกทั้งสองด้าน แล้วเช็ดด้วยผ้าแห้งให้สะอาด เพื่อการใช้งานใช้ครั้งต่อไป.

ข้อมูลจาก หรือดูรายละเอียด.. http://www.champ999.com/

เส้นทางอาชีพ การพิมพ์สกรีนเสื้อขั้นพื้นฐาน

------บทที่ ๑ -----
การพิมพ์สกรีนขั้นพื้นฐาน

การพิมพ์สกรีน
เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้หลักการปาดสีหรือหมึกพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนที่ขึงตึงบนกรอบที่ทำขึ้น โดยปิดและเปิดบริเวณรูผ้าสกรีนให้มีลายภาพตามความต้องการ การพิมพ์นี้สามารถพิมพ์ได้กับวัสดุหลายชนิด เช่น กระดาษ สติกเกอร์ ไม้ ผ้า กระจก กระเบื้อง เซรามิค พลาสติก โลหะ ฯลฯ และหลายรูปทรง เช่น วัสดุพื้นราบ ทรงกระบอก และวัสดุรูปทรงไข่ เป็นต้น ทั้งที่มีขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่โดยไม่จำกัด
ปัจจุบันระบบการพิมพ์สรีนเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ และวงการศึกษามากขึ้น เช่น ใช้พิมพ์สินค้าให้สวยงามน่าใช้ ใช้พิมพ์ป้าย งานสื่อโฆษณา - ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เป็นต้น และนับว่าเป็นระบบการพิมพ์งาน์ที่ใช้ลงทุนน้อยโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ - เครื่องมือเครื่องใช้เพียงไม่กี่ชนิดก็สามารถพิมพ์ได้
กระบวกการพิมพ์สกรีน เป็นระบบการพิมพ์ที่มีขั้นตอนการทำงานที่ง่าย
สามารถจำแนกออกได้ 3 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมแม่พิมพ์สกรีน (Pre - Stencil) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
- การขึงสกรีน
- การทำความสะอาดสกรีน
2. การสร้างแม่พิมพ์สกรีน (Stencil) สามารถสร้างได้ 2 วิธี คือ
- สร้างแม่พิมพ์โดยไม่ใช้แสง (Non- Exposure)
- สร้างแม่พิมพ์โดยวิธีถ่ายด้วยแสง (Exposure)
3. การพิมพ์สกรีน (Printing) แบ่งตามลักษณะการพิมพ์สกรีนได้ 3 แบบ คือ
- การพิมพ์แบบสีเดียวหรือหลายสี (Single / Multi Colour ) พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์สีทึบ ซึ่งสีแต่ละสีเกิดจากการพิมพ์สีละ 1 ครั้ง โดยการพิมพ์ลายภาพที่เป็นแบบสีเดียวหรือหลายๆ สีก็ได้
- การพิมพ์แบบหมึกชุดสอดสี ( Process Colour ) พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ชุดสอดสี ใช้หมึกกึ่งโปร่งแสง ประกอบด้วย สีเหลือง สีบานเย็น สีคราม และสีดำ การพิมพ์ด้วยหมึกประเภทนี้ จะเป็นการพิมพ์โดยใช้เม็คสกรีนพิมพ์ซ้อนหรือเหลื่อมกันเพื่อให้เกิดการผสมผลานกันระหว่างหมึกพิมพ์ได้สีต่าง ๆ ออกมามากมายตามต้นฉบับ
- การพิมพ์ด้วยเทคนิคพิเศษ ( Special Effect ) เป็นการพิมพ์ลงบนชิ้นงานบางชนิดที่ไม่สามารถพิมพ์ด้วยระบบทั่วๆ ไป เช่น การพิมพ์วัสดุรูปทรงศรี วัสดุผิวโค้ง และวัสดุผิวขรุขระ เป็นต้น

เอกสารประกอบชุดการฝึกทำสกรีน สำหรับผู้เริ่มต้น..
ปัจจุบันระบบการพิมพ์สรีนเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ และวงการศึกษามากขึ้น เช่น ใช้พิมพ์สินค้าให้สวยงามน่าใช้ ใช้พิมพ์ป้าย งานสื่อโฆษณา - ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เป็นต้น และนับว่าเป็นระบบการพิมพ์งาน์ที่ใช้ลงทุนน้อยโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ – เครื่องมือเครื่องใช้เพียงไม่กี่ชนิดก็สามารถพิมพ์ได้ และสามารถทำให้ท่านนำไปประกอบอาชีพได้โดยลงทุนไม่มากนักแต่ ทำเงินได้เกินพอเชียวล่ะ
เช่น..ลองพิมพ์เสื้อยืดไว้ขาย หรือ พิมพ์วัสดุต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้านั้นๆ
1.อุปกรณ์ การทำสกรีนเบื้องต้น (สำหรับผู้ฝึกทำใหม่)
1.กาวอัดสกรีน 1 ขวด
2.น้ำยาไวแสง 1 ขวด
3.บล็อกสกรีน 1 บล็อก
4.ยางปาดสี 1 อัน
5.กระจกใส  1  แผ่น
6.สีสกรีนผ้า  1  ขวด
7.ผงล้างบล็อกสกรีน 1  ขวด
8.เอกสารประกอบ"สอนการทำบล็อกสกรีน แบบปฏิบัติจริง"
2. การเตรียมสร้างแบบสกรีน(ต้นฉบับสำหรับพิมพ์เสื้อ)
1. นำกระดาษขาว เอ 4 ธรรมดา วางลงบนโต๊ะ
2. วาดแบบอะไรก็ได้ตามต้องการ แต่ต้องวาดด้วยหมึกสีดำ
หรือปากกาหมึกดำ และต้องวาดด้านเดียว หรือจะใช้อิงค์เจ็ทพิมพ์แบบสี
ดำลงบน กระดาษ เอ4 ก็ได้ (ต้องเน้นใช้หมึกดำนะครับ ห้ามใช้สีอื่น)
3. นำกระดาษขาวที่วาดแบบแล้ว วางลงบนกระจกใสที่ให้มา เอาสำลีจุ่ม
น้ำมันพืชที่หาได้ในครัว ถูทาให้ทั่วแผ่นกระดาษ (เพื่อให้กระดาษนั้นใส
ขึ้น แต่ต้นแบบของเราต้องไม่ซึมนะครับ)

3.การเริ่มต้นทำบล็อกสกรีน(เบื้องต้น)
1. เทกาวอัดลงในภาชนะ ประมาณ 5 ช้อน
2. เทน้ำยาไวแสง 1 ช้อน
3. ผสมกาวอัดและน้ำยาไวแสงเข้าด้วยกัน คนให้เข้ากัน(จะออกสีน้ำตาลๆ)
4. นำกาวอัดที่ผสมเสร็จแล้ว เทลงหลังบล็อกสกรีนให้ปริมาณพอควร
5. เอายางปาดสกรีนที่เช็ดแห้งแล้ว ปาดกาวอัด ขึ้นและลงให้ทั่วๆบล็อกสกรีน
และพยายามให้กาวอัด ราบเรียบ อย่าให้กาวดูแล้วหนานะครับ
6. เศษกาวอัดที่ด้านข้างๆของบล็อกสกรีน หาเศษผ้ามาเช็ดทิ้งไป อย่าให้เยิ้มเป็น
ก้อน อาจจะมีปัญหาเวลาเป่าบล็อกแล้วมันไม่ค่อยจะแห้ง
7. จากนั้น ก็นำเอาไดร์เป่าผม มาเป่าบล็อกสกรีนดังกล่าวให้แห้ง (ขณะที่เป่าควรทำในที่มืดๆ พยายามอย่าให้โดนแสงสว่าง และห่างประมาณ 1 ฟุต) วิธีสังเกตว่าบล็อกแห้ง หรือยังนั้น ควรดูว่า กาวที่ฉาบลงไปนั้น มีสีที่ใสขึ้นแล้วหรือยัง (สีสันมันจะดูใสๆแบบลูกโป่งที่เราเป่าให้พองโต)
8. เมื่อเป่าบล็อกสกรีนด้วยลมร้อนจนแห้งดีแล้ว..
จงจำไว้ว่า กาวอัดบนบล็อกสกรีนที่แห้งแล้วนั้น เปรียบเสมือน ฟิลม์ถ่ายรูปดีๆนี่เอง..ดังนั้นจึงต้องระวังอย่าให้ถูกแสงที่สว่างจ้าขณะที่เก็บบล็อกไว้ เพื่อการเตรียมอัดบล็อกสกรีนต่อไป

4. การอัดบล็อกสกรีน เพื่อสร้างแม่แบบ บล็อกสกรีน
1. นำกระจกใสที่เราเอาแบบวาดหรือแผ่นกระดาษ ซึ่งชุบทาถูน้ำมันพืชไว้
เรียบร้อยแล้วนั้น มาวางทาบกับด้านหลังของบล็อกสกรีนตามลำดับ(ดังรูป)
  •   กระจก
  • กระดาษต้นฉบับ
  • บล็อกสกรีน
  • กระดาษดำ(ใช้กระดาษคาร์บอนก็ได้)
  • หนังสือหนาๆ
                  
2. ด้านหน้าของบล็อกสกรีนนั้น เอากระดาษดำ(ใช้กระดาษก็อปปี้ก็ได้ครับ) หรือผ้าดำ วางทับไว้
3. ใช้มือจับนำอุปกรณ์ทั้งหมด(ดังในภาพ)หงายขึ้น แล้วส่องให้ถูกกับแสงแดด โดยใช้เวลาประมาณ 10 วินาที (กรณีแดดจ้า)
4. หลังจากนั้น ก็นำบล็อกสกรีนที่ผ่านการฉายแสงแล้ว มาล้างด้วยน้ำเปล่าธรรมดา หรือฉีดด้วยสายยางน้ำประปา เพื่อให้ภาพที่ถ่ายไว้ในบล็อกสกรีนปรากฏขึ้น
5. จากนั้นก็นำบล็อกสกรีนนี้ไปตากแดด หรือ เป่าด้วยลมร้อนจากไดเป่าให้แห้งสนิท
6. นำเทปกาวย่นธรรมดาที่มีขายทั่วไป ปะติดขอบบล็อกด้านนอก(ด้านหลัง)ทั้ง 4 ด้าน เป็นอันว่า เสร็จแล้วครับ.. คุณจะได้บล็อกสกรีนที่พร้อมใช้งานแล้วครับ.

5. ขั้นตอนการพิมพ์ผ้า..หรือเสื้อยืด
1. นำเสื้อ หรือ วัสดุที่เป็นประเภทผ้า มาวางไว้บนพื้นโต๊ะที่ราบเรียบ ถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้ไม้อัด หรือ แผ่น ฟิวเจอร์บอร์ด (แผ่นพาสติกลูกฟูก) ตัดให้เล็กกว่าตัวเสื้อเล็กน้อย สอดในตัวเสื้อ แล้วเอามือลูบให้ราบเรียบ(ถ้าไม่เรียบให้ซื้อกาวยึดผ้ามาทาก่อน แล้วผ้าจะเรียบไม่ย่น การพิมพ์ก็จะง่ายขึ้นครับ)
2. นำบล็อกสกรีนที่เตรียมไว้ มาวางบนเสื้อที่ต้องการจะพิมพ์
3.เทสีสกรีนที่เตรียมไว้ ลงบนบล็อกสกรีน
4.ใช้ยางปาด ปาดสีผ่านบล็อกสกรีน ไปมา 2-3 ครั้ง แล้วยกบล็อก ขึ้น ถ้าจะพิมพ์หลายๆตัว ก็ ยกบล็อกไปพิมพ์ตัวต่อไป ด้วยวิธีเดียวกัน จนหมดชิ้นงานที่จะพิมพ์

6. ขั้นตอนการล้างบล็อก
1. จำไว้นะครับ พิมพ์เสื้อเสร็จแล้ว ต้องล้างบล็อกทันที (เน้น..นะครับ ต้องล้างบล็อกทันทีที่พิมพ์เสร็จ.)
2. นำบล็อกสกรีนที่ ใช้แล้ว ปาดสีออกให้หมด
3. จากนั้นก็ล้างด้วยน้ำเปล่าธรรมดา โดยเอาน้ำราดบล็อกทั้งสองด้าน แล้วเช็ดด้วยผ้าแห้งให้สะอาด เพื่อการใช้งานใช้ครั้งต่อไป.

ข้อมูลจาก หรือดูรายละเอียด.. http://www.champ999.com/